ผี ตามทัศนะทางพุทธศาสนาคืออะไร

 
Nop.p
วันที่  26 ธ.ค. 2555
หมายเลข  22233
อ่าน  32,231

ผีเข้าภิกษุมีหรือไม่ ในพระไตรปิฎกมีอยู่หลายพระสูตรที่เอ่ยถึงผี ... ผีในที่นี่คืออะไร รบกวนครับ

อนุโมทนาบุญ ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 26 ธ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คำว่า ผี ความเข้าใจส่วนใหญ่ก็เข้าใจกันว่า เป็นบุคคลที่ตายแล้วและก็เป็นวิญญาณล่องลอยและปรากฏให้เห็นได้ แต่ในความเป็นจริงที่เป็นสัจจธรรมแล้ว เมื่อตายแล้วคือจุติจิตเกิดขึ้น ปฏิสนธิจิต (การเกิด) เกิดต่อ เปลี่ยนภพภูมิทันที ไม่ใช่ว่าจะต้องมีวิญญาณล่องลอยที่จะคอยหาที่เกิดเป็นผีครับ ตายแล้วจะต้องเกิดทันทีครับ แต่จะเกิดเป็นอะไรนั้นก็แล้วแต่กรรมที่จะให้ผลครับ หากเกิดเป็นสัตว์ก็คงไม่เรียกว่าผี หากเกิดเป็นมนุษย์ก็คงไม่เรียกว่าผี แต่เมื่อเกิดเป็นเทวดาซึ่งเทวดาก็สามารถปรากฏให้เห็นได้ ใช่ผีหรือเปล่า ซึ่งในพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง แบ่งภพภูมิเป็นหลายภพภูมิ ทั้งมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน เปรต เทวดา เป็นต้น ผู้ใดก็ตามที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น เทวดา เปรต ก็เรียกว่าอมนุษย์ ครับ

ส่วนในบางกรณี สำหรับการที่บางบุคคลพบกับบุคคลที่ตายไปแล้ว ยังมาให้เจออีก ประเด็นนี้เราควรมีความเข้าใจถูกครับว่า ที่เห็นเป็นบุคคลที่ตายแล้ว ยังอยู่ให้เห็นก็เพราะสัตว์นั้นไปเกิดเป็นเปรตทันที ต้องการส่วนบุญ เพราะเปรต อาหารที่เขาจะได้รับคือการอุทิศส่วนกุศลไปให้ แล้วจะทำอย่างไรให้เขารู้ได้ ก็ด้วยการปรากฎให้เห็น เพื่อบุคคลอื่นจะได้ทำบุญไปให้กับเปรตนั้นครับ แต่จะต้องเข้าใจใหม่ว่าไม่ใช่เป็นวิญญาณล่องลอยที่คอยตามและแสวงหาที่เกิด แต่ตายแล้วเกิดทันทีครับ ผู้ที่เกิดเป็นเปรตต้องการส่วนบุญจึงปรากฎให้เห็น ซึ่งในพระไตรปิฎก สมัยพุทธกาลก็มีบางบุคคลเจอบุคคลที่ตายแล้ว เพื่อมาขอส่วนบุญกับบุคคลที่เจอโดยให้คนที่มีชีวิตอยู่อุทิศกุศลที่ทำไปแล้วไปให้เปรตได้รับรู้และอนุโมทนาครับ

วิญญาณ ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หมายถึง วิญญาณล่องลอยที่เป็นผีตามที่เข้าใจกัน แต่หมายถึงสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ คือ เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ในการรู้ เรียกว่าวิญญาณคือจิตนั่นเองครับ ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงวิญญาณก็คือสภาพธรรมที่เป็นจิต วิญญาณหรือจิตจึงมีหลายประเภท เช่น จักขุวิญญาณหรือจิตเห็น โสตวิญญาณหรือจิตได้ยิน

ดังนั้น เมื่อวิญญาณหรือจิตเกิดขึ้น เป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เช่น จิตเห็น (จักขุ วิญญาณ) เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นคือ สี เป็นต้น วิญญาณจึงไม่ได้หมายถึง ผี ตามที่เข้าใจกันครับ แต่วิญญาณหมายถึง สภาพธรรมที่เป็นจิต มีลักษณะเป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ในการรู้ครับ

หากเป็นสัจจะความจริงก็จะเข้าใจขึ้น และไม่เข้าใจผิดในคำว่าผีตามภาษาไทยและความเข้าใจเดิมครับ สัตว์โลกมีภพภูมิมากมายตามอำนาจของกรรม และมีความหลากหลายและความวิจิตรของสภาพธรรม ปัญญาความเข้าใจพระธรรมจะเป็นเครื่องเตือนและเข้าใจความจริงในสิ่งที่รู้และทราบในชีวิตประจำวันครับ

ที่สำคัญที่สุด ในสัจจะ ธัมมะ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้สัตว์โลกเข้าใจความจริงที่สัตว์โลกยึดถือด้วยความเห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล มีผี มีสิ่งต่างๆ มากมาย แต่ในความจริงแล้ว สัจจะที่เป็นอริยสัจจะ พระองค์ทรงแสดงว่า มีแต่สภาพธรรมที่เป็นขันธ์ ๕ ที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม มีแต่สภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป หากไม่มีสภาพธรรม ไม่มีเห็น ไม่มีได้ยิน ไม่มีได้กลิ่น ไม่มีลิ้มรส ไม่มีสภาพธรรมอะไรเลย จะมีสัตว์ บุคคลหรือแม้แต่ผีที่เป็นเปรต จะมีได้ไหม มีไม่ได้เลยครับ เพราะฉะนั้น ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรมคือการเพิกถอนความเห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคลหรือมีผี ทั้งๆ ที่ความจริงมีแต่สภาพธรรมเท่านั้นในขณะนี้ที่คิดนึก เมื่อเราเข้าใจความจริงอย่างนี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้สามารถอบรมปัญญาดับกิเลสได้เพราะเป็นสัจจะ เข้าใจตามสัจจะที่พระองค์ทรงแสดง ผีมีเมื่อไหร่ ถ้าไม่มีเห็น ไม่มีได้ยินและไม่มีคิดนึก ผีจะมีได้ไหมครับ ดังนั้น เรากลัวอะไรนอกจากกลัวความคิดนึกของเราเองหลังจากเห็นและได้ยิน เพราะความจริงมีแต่สภาพธรรมครับ แต่เมื่อมีเหตุปัจจัย ปัญญายังไม่มากพอก็ยังกลัวเพราะความไม่รู้และกิเลสที่สะสมมา

ขออนุโมทนาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ


ผีเร่ร่อน วิญญาณพเนจร หรือสัมภเวสี มีจริงไม๊และอยู่ในภพภูมิใดครับ ...

ผีมีจริงหรือไม่

แต่เดิมก่อนศึกษาคิดว่า วิญญาณ คือ ผี

ผีบ้านผีเรือนมีในพระสูตรด้วยหรือเปล่าคะ

ผี คือ อะไร

ผู้ที่ปฏิบัติธรรม ... ทำไมยังกลัวผี

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nopwong
วันที่ 26 ธ.ค. 2555

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
natural
วันที่ 26 ธ.ค. 2555

ขออนุญาตผู้ตั้งกระทู้เพื่อถามผู้รู้เพิ่มเติมจากกระทู้นี้นะคะ จากส่วนหนึ่งของคำตอบที่ว่า ... เพราะสัตว์นั้นไปเกิดเป็นเปรตทันที ต้องการส่วนบุญ เพราะเปรต อาหารที่เขาจะได้รับคือการอุทิศส่วนกุศลไปให้ ... อยากทราบว่า

๑. ส่วนบุญหมายความว่าอย่างไร เราจะทราบได้อย่างไรว่าเรามีส่วนบุญพอที่จะอุทิศหรือไม่ และตามความเข้าใจ บุญเป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไปตามเหตุปัจจัย ...
สะสมเป็นบุญได้หรือ แล้วอุทิศบางส่วนได้อย่างไรค่ะ

๒. เนื่องจากไม่สามารถรับรู้ได้เรื่องเปรต คือไม่เคยเห็นเปรต แต่ถ้าเป็นญาติที่เคยเห็น
แล้วตายจากไป ลักษณะนั้นจำลักษณะรูปพรรณสัณฐานได้ จึงนึกถึงได้ จึงอยากให้ช่วยขยายความหมายของคำว่าเปรตค่ะ

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 26 ธ.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

๑. ส่วนบุญหมายความว่าอย่างไร เราจะทราบได้อย่างไรว่าเรามีส่วนบุญพอที่จะอุทิศหรือไม่ และตามความเข้าใจ บุญเป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไปตามเหตุปัจจัย ... สะสมเป็นบุญได้หรือ แล้วอุทิศบางส่วนได้อย่างไรคะ

- ส่วนบุญ หมายถึง กุศลที่บุคคลที่ผู้อุทิศได้ทำ เช่น การให้ทานกับพระภิกษุ เป็นต้น ส่วนจะทราบว่า กุศล มีมากพอหรือไม่นั้น ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่กุศลทุกอย่างสามารถอุทิศได้ ครับ เพียงแต่ว่า จิตของเปรตจะอนุโมทนาในกุศลนั้นหรือไม่

ส่วนในประเด็นที่บุญหรือกุศลเกิดขึ้นและดับไป อุทิศได้อย่างไร

- ในความเป็นจริงเราไม่ได้เอาบุญของเราที่เกิดแล้วดับไป ไปหยิบยื่น ยกให้ แต่เป็นการบอกกล่าวให้เปรตทราบ ถึงกุศลที่เราได้ทำ เพื่อให้กุศลจิตของเปรตเกิดเอง ไม่ใช่เอากุศลของเราไปให้ครับ เพราะฉะนั้น เปรตก็ได้ส่วนบุญจากกุศลของตนเองที่เกิดเป็นสำคัญครับ

๒. เนื่องจากไม่สามารถรับรู้ได้เรื่องเปรต คือไม่เคยเห็นเปรต แต่ถ้าเป็นญาติที่เคยเห็นแล้วตายจากไป ลักษณะนั้นจำลักษณะรูปพรรณสัณฐานได้ จึงนึกถึงได้ จึงอยากให้ช่วยขยายความหมายของคำว่าเปรตค่ะ

- เปรต เป็นอบายภูมิ อาหารของเปรต คือการอุทิศส่วนกุศลของญาติและเกิดจิตอนุโมทนา เปรตเป็นผู้หิวกระหายเป็นประจำ เพราะฉะนั้น เมื่อต้องการอาหาร ก็ต้องการส่วนบุญที่ญาติอุทิศให้ จึงปรากฏตัวให้ญาติเห็น เช่น ปรากฏรูปร่างเดิมเพื่อให้ญาติจำได้ระลึกถึง จึงอุทิศกุศลไปให้ หรือปรากฏกับบุคคลทั่วไปเป็นรูปร่างที่น่ากลัว เพื่อให้ผู้ที่เจออุทิศส่วนกุศลไปให้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 26 ธ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

- การมีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐของชีวิต เพราะเหตุว่านำมาซึ่งความเข้าใจถูก เห็นถูก ตามความเป็นจริง เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้อง มั่นคง ในเหตุในผล ย่อมจะไม่เอนเอียงในคำพูดที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เข้าใจ แบบผิดๆ ตามๆ กันมา

วิญญาณ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นจิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ วิญญาณหรือจิต เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง ไม่มีการล่องลอย แต่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดดับสืบต่อกันในชีวิตประจำวัน ทุกขณะของชีวิตมีจิตเกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยปราศจากจิตเลยแม้แต่ขณะเดียว ไม่ว่าจะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ขณะที่จิตเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล หรือแม้กระทั่งขณะแรกของชีวิต ก็เป็นจิต

ผู้ที่ไม่ได้บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสได้ทั้งหมด เมื่อตายไป (จิตขณะสุดท้ายของชีวิตในชาตินี้ เกิดขึ้นทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้) ย่อมเกิดทันที (ปฏิสนธิจิต) แต่จะไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับกรรมที่กระทำแล้ว แต่เกิดแน่นอน สังสารวัฏฏ์ก็ยังดำเนินต่อไป (มีจิต เจตสิก รูป เกิดขึ้นเป็นไป อย่างไม่ขาดสาย) ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ก็ไม่เรียกว่าผี แต่ถ้าเป็นสัตว์ในภูมิอื่น กล่าวคือ เกิดเป็นเปรต เป็นต้น ก็อาจจะมีคำเรียกว่าผี ก็ได้ ซึ่งก็บัญญัติเรียกมาจากความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมกับรูปธรรม ที่เป็นสัตว์ในภพภูมินั้นๆ ส่วนผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้ว (ตาย) ย่อมไม่มีการเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ครับ

- พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เกื้อกูลอุปการะเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่อกุศลธรรม, กุศล ซึ่งเป็นความดีในชีวิตประจำวันสามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งในเรื่องของทาน ศีล และการอบรมเจริญปัญญา ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นจะเห็นประโยชน์ของกุศลมากน้อยแค่ไหน การอุทิศส่วนกุศล ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย

จุดประสงค์ของการอุทิศส่วนกุศล ก็เพื่อให้บุคคลอื่นได้ร่วมอนุโมทนาซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลจิตของบุคคลอื่นเกิดได้ กุศลจิตที่อนุโมทนาย่อมเป็นกุศลของผู้อนุโมทนาเอง ซึ่งกุศลที่เกิดขึ้นด้วยการอนุโมทนานี้จะเป็นเหตุให้ได้รับผลที่ดี คือ กุศลวิบากจิตเกิดขึ้น ไม่ใช่เราหยิบยื่นกุศลของเราให้คนอื่น แต่การที่เราทำกุศล แล้วเป็นเหตุให้คนอื่นที่รู้อนุโมทนายินดีด้วย ขณะใดที่เขาอนุโมทนายินดีด้วย ขณะนั้นก็เป็นกุศลของเขา ซึ่งจะต้องเป็นกุศลจิตของผู้ที่อนุโมทนา จะระบุชื่อหรือกล่าวรวมๆ ก็ได้ ทั้งหมดทั้งปวงนั้น เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่รับรู้และมีจิตเป็นกุศล อนุโมทนาเท่านั้นจริงๆ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 26 ธ.ค. 2555

คนที่ตายไปแล้ว ชาวบ้านเขาเรียกว่าผี แต่ในพระไตรปิฎก ใช้คำว่าอมนุษย์ รวมถึงเปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน เทวดา พวกนี้เป็นอมนุษย์ เพราะไม่ใช่มนุษย์ค่ะ ส่วนคนที่มีศีล เจริญเมตตา เป็นคนดี พวกอมนุษย์ ก็ไม่สามารถเข้าสิงหรือทำร้ายได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 26 ธ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ผู้ใดก็ตามที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น เทวดา เปรต ก็เรียกว่าอมนุษย์ครับ"

"การมีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวันย่อมเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐที่สุดของชีวิต"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของอ.ผเดิม, อ.คำปั่นและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Nop.p
วันที่ 27 ธ.ค. 2555

ขอบพระคุณครับ ในพระวินัยมีอยู่ข้อหนึ่งว่า ขณะฟังพระปาฏิโมกข์อยู่แล้วมีภิกษุถูกผีเข้า ท่านให้หยุดทำสังฆกรรมนั้นจนกว่าผีจะออกใช่หรือไม่?

ขออนุโมทนาบุญ.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 20 ธ.ค. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
weerasak38
วันที่ 20 ม.ค. 2559

บุคคลบางคนจะเป็นสตรีก็ดี บุรุษก็ดี ย่อมเป็นผู้ให้ข้าวให้น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ เมื่อเขาตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์หากมาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคทรัพย์มาก

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 9 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ