มีข้อสงสัยในศีล

 
nano16233
วันที่  23 ก.ย. 2555
หมายเลข  21774
อ่าน  1,858

ศีลข้อ ห้ามบริโภคอาหารในเวลาวิกาล เวลาไหนเรียกว่า เวลาวิกาล


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 24 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพครับ

พระวินัยบัญญัติทุกสิกขาบท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการขัดเกลากิเลส เพื่อความเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ดำรงอยู่ในเพศของบรรพชิตซึ่งเป็นเพศที่สูงยิ่งกว่าคฤหัสถ์ ความประพฤติที่ดีงามทุกอย่าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วทุกประการ และ ความประพฤติที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกไม่ควรนั้น พระองค์ก็ทรงแสดงโทษและทรงบัญญัติห้ามไว้ ซึ่งจะเป็นประโ่ยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ได้ศึกษาพระวินัยโดยละเอียด จะได้สำรวมระวังไม่ล่วงละเมิดในสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามและจะได้น้อมประพฤติในสิ่งที่พระองค์ทรงอนุญาตไว้

และสิ่งที่ควรจะได้พิจารณาเพิ่มเติมคือ ความเป็นบรรพชิต รักษายากอย่างยิ่ง ถ้ารักษาไม่ดี ก็จะมีแต่จะคร่าไปสู่อบายภูมิอย่างเดียว การต้องอาบัติ โดยที่ยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยนั้น เป็นเครื่องกั้นการบรรลุมรรค ผล นิพพาน ยิ่งถ้ามรณภาพลงในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ก็จะเป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเท่านั้น

การบริโภคอาหารในเวลาวิกาล เป็นอาบัติปาจิตตีย์ สำหรับภิกษุผู้ล่วงละเมิด, คำว่า เวลาวิกาล นั้น ในพระวินัยแสดงไว้ว่า ตั้งแต่เที่ยงไปแล้วจนถึงอรุณขึ้น ดังนั้น ตั้งแต่เวลาเที่ยงไปแล้ว พระภิกษุไม่สามารถบริโภคอาหารได้เลย ครับ

สำหรับต้นบัญญัติซึ่งเป็นเหตุแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบทนี้

กราบอาราธนานิมนต์พระคุณเจ้าคลิกอ่านได้ที่นี่ครับ

ฉันอาหารหลังเที่ยงเป็นอาบัติ [มหาวิภังค์ ] และ

พระสงฆ์ฉันเย็น ฉันก็อาบัติ ปล่อยไห้หิวมากไม่ฉันก็อาบัติจริงหรือ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 24 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบนมัสการพระคุณเจ้า ครับ

เรียนสนทนาเพิ่มเติม จากที่พระคุณเจ้าได้ถามในเรือ่ง ข้อกำหนดคำว่า วิกาล คือ

อย่างไรนั้น

คำว่า เวลาวิกาล หมายถึง หลังเที่ยงไปแล้ว จนถึงอรุณขึ้น ครับ ห้ามฉันอาหาร

ต่างๆ รวมทั้งนม ยกเว้นแต่น้ำปานะ ครับ

สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล หมายตั้งแต่เวลาเที่ยงวันล่วงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น

จะเห็นนะครับว่า การเป็นผู้บวชเป็นเพศพระภิกษุแล้ว ย่อมมีข้อบัญญติที่ควรจะงดเว้น

และ ควรประพฤติ

ซึ่งประวัติในเรื่องการฉันในเวลาวิกาล ขอเล่าโดยย่อครับ

แต่ก่อน พระภิกษุนั้น ยังไม่มีสิกขาบทข้อนี้ เมือ่ก่อนภิกษุก็เที่ยวแสวงหาอาหาร

ทั้งเวลาเช้า เวลาเย็น รวมทั้ง เวลากลางคืนด้วย มีอยู่คราวหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง เดิน

แสวงหาอาหารในตอนกลางคืน หญิงคนนั้นเห็นเหมือนเงาปีศาจ จึงตกใจ สำคัญ

ว่าเป็นปีศาจ ด้วยเหตุนี้ พระุพุทธเจ้าทรงทราบเหตุการณ์ต่างๆ จึงทรงบัญญัติให้

งดการฉันในเวลาเย็น กลางคืน เพราะ ไม่สมควรกับเพศพระภิกษุ ไม่นำมาซึ่งความ

เลื่อมใสกับชนทั้งหลาย และเป็นไปเพื่อความมักมาก ภิกษุรูปนั้นเมื่อได้ฟังก็เกิดความ

น้อยใจในพระพุทธเจ้า แต่เมื่อท่านพิจารณาด้วยปัญญา ก็กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า

แต่เมื่อข้าพระองค์เห็นว่า สิ่งที่พระองค์ทรงแสดง บัญญัตินั้น เป็นไปเพื่อละคลาย

กิเลส หม่อมฉันก็ขอประพฤติปฏิบัติตาม

นี่แสดงให้เห็นถึงประวัติการฉันอาหารของพระภิกษุในเวลาวิกาล คือหลังเที่ยง

ไปแล้วจนถึงอรุณขึ้น ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร และนำมาซึ่งกิเลส คือ ความมักมาก

เพราะ เพศพระภิกษุจะต้องเป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสอย่างยิ่งดุจสังข์ขัด ครับ

ผู้มีปัญญา ท่านก็พิจารณา แม้จะน้อยใจทีแรก แต่ท่านเห็นถึงคุณงามความดี ว่าเป็น

สิ่งที่สำคัญกว่า ท่านจึงงดเว้นการฉันในเวลาวิกาล คือ หลังเที่ยงไปแล้ว ครับ

พระพุทธเจ้าจึงทรงถึงพร้อมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ เพราะ บัญญัติพระวินัย เพื่อที่

จะเป็นข้อห้ามและข้อประพฤติสำหรับพระภิกษุ เพื่อประโยชน์ในการเจริญขึ้นของกุศล

ธรรมและ อาสวะกิเลส ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและที่มีอยู่ ครับ

ดังนั้น จึงเห็นพระมหากรุณาธิคุณด้วยพระวินัยปิฎก ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
daris
วันที่ 24 ก.ย. 2555

ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมครับ

เคยได้ยินจากการบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ครั้งหนึ่ง สนทนาเกี่ยวกับเรื่อง

รับประทานอาหารเย็นนี่แหละครับ

ได้ยินท่านอาจารย์กล่าวว่า อาหารที่จะมีประโยชน์กับร่างกายจริงๆ ก็เป็นอาหารที่

รับประทานก่อนเวลาเที่ยง แต่สำหรับเพศคฤหัสถ์ก็ไม่ได้ห้ามรับประทานอาหารเย็น

แล้วแต่อัธยาศัย

ไม่ทราบตรงนี้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกรึเปล่าครับ หรือว่าท่านอาจารย์กล่าวถึงความรู้

โดยทั่วๆ ไป กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 24 ก.ย. 2555

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

สำหรับโดยหลักโภชนาการ ก็เป็นจริงอย่างนั้น คือ ร่างกายควรได้รับอาหารในช่วง

เวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเวลาเช้า ที่ร่างกาย ต้องการสารอาหารที่บำรุงร่างกาย

หลักจากที่ไม่ได้รับประทานมาหลายชั่วโมงจากการพักผ่อน มื้อเช้าและมื้อกลางวัน

จึงเป็นอาหารที่สมควรทาน เพราะสำหรับการดำเนินชีวิต ที่ต้องใช้พลังงาน เป็นต้น

ซึ่งปริมาณสารอาหาร พลังงานก็เพียงพอกับตอนเย็นแล้ว แต่หากว่ามีการเติมอาหาร

เข้าไปในตอนเย็น หรือ มื้อค่ำ ก็จะทำให้ ร่างกาย ไม่สามารถเผาผลาญอาหารเหล่า

นั้นได้หมด ก็เก็บเป็นพลังานส่วนเกิน ก็ทำให้มีปัญหากับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ไขมัน

ส่วนเกิน ปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ ความดัน โรคต่างๆ มะเร็งลำไส้ เป็นต้น เพราะ

อาหารเป็นปัจจัย ซึ่งคุณหมอ daris ก็คงทราบดีในประเด็นนี้ ครับ

ซึ่งในพระไตรปิฎกก็แสดง สมุฏฐานของโรค เหตุให้เกิดโรค ประการหนึ่ง ก็คือ

อาหารด้วย

พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรม เกี่ยวกับการบริโภคอาหารว่า การทานอาหารเพียงหน

เดียว หรือ ไม่มาก ย่อมเป็นไปเพื่ออประโยชน์กับร่างกาย คือ มีร่างกายที่เบา มีกำลัง

ไม่อึดอัด อยู่อย่างผาสุก และ มีโรคน้อย ซึ่งก็พิจารณาตรงตามหลักการแพทย์ เพราะ

เมื่อบริโภคไม่มาก และ ไม่บริโภคมื้อเย็น ร่างกายก็ไม่ต้องทำงานหนัก และ ไม่เหลือ

สิ่งตกค้างในลำไส้ และ ทำให้ไม่เหลือส่วนเกินที่จะสะสมเป็นสิ่งที่ไม่ดีไว้ในร่างกาย

ด้วยครับ ท่านอาจารย์สุจินต์ ท่านจึงไม่บริโภคอาหารเวลาเย็นเป็นประจำอยู่แล้ว

ทำให้ท่านแข็งแรงอายุยืนด้วย การดูแลสุขภาพในเรื่องการทานอาหารด้วย และ

ก็ตรงตามพระธรรมที่พระพุทะเจ้าทรงแสดงด้วย ครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก ครับ

ซึ่งสมกับ คำว่าเป็นผู้ไม่ประมาท คือ ไม่ประมาทในประโยชน์ในโลกนี้ คือ รู้จักดูแล

สุขภาพที่ถูกต้องว่าควรทำอย่างไร และ ไม่ประมาทในโลกหน้า คือ การทำกุศล

ประการต่างๆ และ ไม่ประมาทในโลกอันสูงสุดคือ การอบรมปัญญาเพื่อดับกิเลส

ท่านอาจารย์ก็มีความเข้าใจในประโยชน์ในโลกทั้ง 3 ตามที่กล่าวมา ครับ

เชิญอ่านข้อความจากพระไตรปิฎก ครับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

[๒๖๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา

ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ทำจิตของเราให้ยินดีเป็นอันมาก

เราขอเตือนภิกษุทั้งหลายไว้ในที่นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารหนเดียว

เมื่อเราฉันอาหารหนเดียวอยู่แล รู้สึกว่ามีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย เบากาย

มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก ภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหารหนเดียว

เถิด แม้พวกเธอฉันอาหารหนเดียว ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย

เบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 378

" คนมีสติทุกเมื่อ รู้ประมาณในโภชนะที่ได้แล้ว

นั้น มีเวทนาเบาบาง, (อาหารที่บริโภคแล้ว) เลี้ยง

อายุอยู่ ค่อยๆ ย่อยไป

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 25 ก.ย. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์คำปั่นและอาจารย์ผเดิมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
daris
วันที่ 25 ก.ย. 2555

กราบขอบพระคุณอาจารย์ผเดิมครับ

ทราบว่าท่านอาจารย์สุจินต์ท่านไม่รับประทานอาหารเย็น แล้วเห็นท่านอาจารย์สุขภาพ

แข็งแรงสดใสเสมอ

ผมเองก็อยากปฏิบัติตามบ้าง แต่ตัวผมเองก็ยังติดข้องในรสอาหารมากเหลือเกิน

คงต้องค่อยๆ ขัดเกลาอบรมไปเรื่อยๆ อีกนาน

กราบของพระคุณ และอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ประสาน
วันที่ 25 ก.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ