การเจริญสติ

 
มหาแสนดี
วันที่  13 ก.ย. 2554
หมายเลข  19720
อ่าน  1,251

เวลาใดบ้างที่ไม่ได้เจริญสติครับ?

มีเรื่องให้คิด..เพื่อประโยขน์แก่ชนผู้ได้สดับ ผู้รู้กรุณาให้ความชัดเจนครับ

ได้ฟังมาว่า

๑ เวลานอนหลับไม่มีการเจริญสติ

๒ เวลาคิด ไม่มีการเจริญสติ

เหตุผลเป็นประการใดต้องอาศัยผู้รู้ (?????)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย๑ เวลานอนหลับไม่มีการเจริญสติ

การเจริญสติปัฏฐาน คือ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้

ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

ขณะที่นอนหลับสนิท ขณะนั้นเป็นภวังคจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยทวาร คือ ไม่

อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเกิดขึ้น ดังนั้นขณะที่หลับสนิท จึงไม่มีการเห็น ไม่มีการ

ได้ยิน ไมมีการได้กลิ่น ไม่มีการลิ้มรส ไม่มีการรู้กระทบสัมผัส และขณะที่หลับสนิทไม่มี

การคิดนึกด้วยครับ อารมณ์ของโลกนี้ หรือ โลกนี้ไม่ปรากฎเลยในขณะที่หลับสนิท

เพราะภวังคจิตเป็นจิตชาติวิบาก เป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นขณะที่หลับสนิท จึงไม่

สามารถเจริญสติปัฏฐานได้ เพราะขณะที่สติปัฏฐานเกิด คือ ขณะที่กุศลจิตที่ประกอบ

ด้วยสติและปัญญา ที่เกิดขึ้นที่ชวนจิต เมื่อเป็นชาติกุศล ก็ไม่สามารถรู้ในขณะที่หลับ

สนิทที่เป็นชาติวิบากได้ครับ และเมื่อไม่มีการเห็น การได้ยิน ไม่อาศัยทวารทั้งมโนทวาร

และปัญจทวาร สติและปัญญาที่เป็นกุศลจิตก็ไม่สามารถเกิดได้ในขณะนั้นเพราะ กุศล

จิตที่เป็นสติปัฏฐานต้องอาศัยทวารใด ทวารหนึ่งเกิด ไม่ว่าจะเป็นปัญจทวาร คือ ตา หู

จมูก ลิ้น กาย หรือเกิดทางมโนทวารครับ เพราะเป็นชวนจิต ต้องเกิดทางปัญจทวารหรือ

มโนทวาร แต่ภวังคจิตในขณะที่หลับสนิท ไม่ได้อาศัยทวารครับ สติปัฏฐานจึงเกิดใน

ขณะที่หลับสนิทไม่ได้เลยครับ

ขณะที่หลับสนิท เป็นภวังคจิต มีอารมณ์ของชาติก่อนเป็นอารมณ์ ขณะนั้นไมได้คิด

นึก ไม่เห็น ไมได้ยิน...ไม่กระทบสัมผัส ปัญญา คือ สติปัฏฐานจึงเกิดไม่ได้ครับ

พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า หากจิตเป็นอกุศลหลับดีกว่า เพราะขณะที่หลับ เป็นวิบาก

ไม่ใช่อกุศล วิบากดีกว่า อกุศล แต่เรากล่าวว่า การหลับเป็นหมันในธรรมวินัยนี้ คือ ไม่

นำมาซึ่งความเจริญในกุศลธรรมและปัญญา เพราะว่าขณะที่หลับสนิท เป็นผลของกรรม

ขณะที่หลับ กุศลจิตไม่เกิด สติปัฏฐานไม่เกิดนั่นเอง การหลับจึงไม่นำมาซึ่งความเจริญ

ใดๆ เลยครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ย. 2554

๒. เวลาคิด ไม่มีการเจริญสติ

การเจริญสติปัฏฐาน ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ย่อมรู้ถึงลักษณะของสภาพธรรม ที่มีจริง

ในขณะนั้น แต่ขณะที่คิดถึงเรื่องราว ที่เป็นบัญญัติ ขณะนั้นไม่ได้มีลักษณะของสภาพ

ธรรมที่มีจริงให้รู้ แต่เป็นเรื่องราวของธรรม ดังนั้นสติปัฏฐานจึงไม่ใช่ขณะที่คิดถึง

เรื่องราวของธรรมครับ เพราะไม่ได้รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ยกตัวอย่างเช่น

ขณะที่ได้ยินเสียง ก็คิดนึกว่า เสียงเป็นธรรม ขณะที่คิดนึกว่าเสียงเป็นธรรม ขณะนั้น

ลักษณะของเสียงที่เป็นตัวปรมัตถธรรมดับไปนานแล้ว ไม่ได้รู้ตัวลักษณะของเสียงที่

เป็นธรรมจริงๆ แต่คิดนึกเรื่องราวของเสียงที่ดับไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นเพียงการคิดนึก

ในเรื่องราวของเสียงที่ดับไปนานแล้ว ไมได้รู้ตรงลักษณะ เพราะฉะนั้น ขณะที่คิดนึกใน

เรื่องสภาพธรรม จึงไม่ใช่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดเพราะไม่ได้รู้ตัวลักษณะของสภาพธรรม

จริงๆ นั่นเองครับ การคิดนึกจึงไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน

และเวลาคิดก็ไม่มีการเจริญสติ เพราะขณะที่คิดมีเรื่องราวที่เป็นบัญญัติ ไม่ใช่ตัวปรมัต

สติปัฏฐานต้องมีสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นปรมัตเป็นอารมณ์ คือ สติและปัญญาต้องมี

สภาพธรรมที่มีจริงเป็นสิ่งที่สติและปัญญารู้ ไม่ใช่บัญญัติเป็นอารมณ์ แต่เมื่อความคิด

นั้นดับไป สติปัฏฐานสามารถเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่คิด คือ จิตซึ่งเป็น

ปรมัตถธรรมและมีลักษณะให้รู้ได้ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราได้ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
daris
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและธรรมทานของอาจารย์ผเดิมครับ

ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมว่า แล้วในขณะที่ "ฝัน" ซึ่งเป็นวิถีจิตที่เกิดทางมโนทวารนั้น

สติปัฏฐานสามารถเกิดได้หรือไม่ครับ

ขอกราบขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

ขณะฝัน ไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส หรือรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ขณะที่

ฝันก็คือขณะที่คิดนึก ขณะที่ฝันจิตเป็นกุศล เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ก็ย่อมมีได้ เช่น

ฝันว่าให้ทานฝันว่ารักษาศีล ฝันว่าเจริญพุทธคุณ เจริญธรรมคุณ เจริญสังฆคุณ มี

เมตตาจิตและฝันว่าระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏก็ย่อมได้เช่นกันครับ

เหตุผลเพราะว่า สติปัฏฐานมีสภาพธรรมที่มีจริงเป็นอารมณ์ คือ มีปรมัตเป็นอารมณ์

คือ จิต เจตสิก รูป ไม่ใช่บัญญัติ ดังนั้นแม้จะไม่มีการเห็น ได้ยิน...รู้กระทบสัมผัสในขณะ

ที่ฝัน แต่เมื่อมีการคิดนึก ขณะที่คิดนึก ก็ต้องมีจิต เรื่องราวที่จิตคิดในขณะที่ฝันเป็น

อารมณ์ของสติปัฏฐานไม่ได้ แต่ในเมื่อมีจิตที่คิดนึก จิตคิดนึกมีจริง เป็นปรมัต สติ

ปัฏฐานก็สามารถเกิดระลึกรู้ตัวจริง คือ สภาพของจิตที่กำลังคิดได้ครับ ซึ่งการที่สติ

ปัฏฐานจะเกิดในขณะที่ฝันได้ ต้องเป็นผู้ที่อบรมสติปัฏฐานมาอย่างชำนาญคล่องแคล่ว

แล้วในชีวิตประจำวัน ทั่วทั้ง 6 ทวารเป็นปกติ จนมีกำลัง ที่สามารถเกิดได้แม้ในขณะที่

ฝันครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคหรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก่อนอื่น ต้องเป็นผู้ละเอียดในการศึกษาพระธรรม เมื่อกล่าวคำอะไร หรือ ได้ิยินคำอะไร ก็ต้องเข้าใจคำดังกล่าว ด้วย เป็นการเริ่มศึกษาธรรม ทีละคำ เพือความเข้าใจอย่างถูกต้องยิ่งขึ้น

-สติ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นเจตสิกที่ดีงาม เป็นสภาพธรรมที่ระลึกได้ เป็นไปในกุศลธรรม ที่จะต้องเิกิดกับจิตที่ดีงามทุกประเภท ขณะที่จิตเป็นกุศล ไ่ม่ปราศจากสติ ขณะที่มีการระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ปราศจากสติ

สติ เกิดกับจิต ได้ ๓ ชาติ คือ เกิดกับชาติกุศล เกิดกับชาติวิบาก เกิดกับชาติกิริยา ตามสมควรแก่จิตประเภทนั้นๆ จะไม่เกิดร่วมกับชาิติอกุศลอย่างเด็ดขาด ขณะที่บอกว่า เจริญสติ แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีตัวตนที่ไปเจริญสติ แต่เป็นสติ นั่นเอง ที่ค่อยๆ เจริญขึ้น จากการอบรมเจริญความเข้าใจถูกเห็นถูก ตั้งแต่แต่ต้น

-ขณะที่หลับสนิท เป็นภวังคจิต เป็นจิตประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่รักษาภพชาิติความเป็นบุคคลนี้ไว้ จนกว่าจะถึงการจุติเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ ขณะี่ที่หลับสนิท จิตไม่ได้เป็นกุศล ไม่ได้เป็นอกุศล ใดๆ เลย ไม่ได้มีการให้ทาน รักษาศีล หรือ ฟังพระธรรม ในขณะที่หลับสนิท ไม่มีการติดข้องต้องการ ไม่มีการโกรธขุ่นเคืองใจ ในขณะที่หลับสนิท ที่ควรจะได้พิจารณา คือ สำหรับผู้ที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ ไม่พิการบ้าใบ้บอดหนวกตั้งแต่กำเนิด เป็นผลของกุศลกรรม ในขณะที่หลับสนิทนั้น จิตเป็นภวังคจิต มีสติ เกิดร่วมด้วย แต่เป็นสติที่เป็นชาิติวิบาก อันเป็นชาติเดียวกันกับภวังคจิต ซึ่งไม่ได้เป็นไปในกุศลธรรมใดๆ เลย

-คิด เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งไม่พ้นไปจากจิต และ เจตสิกที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ คือ บัญญัติเรื่องราวต่างๆ ขณะที่คิด อะไรมีจริง? จิต และ เจตสิก มีจริง ส่วนเรื่องที่คิด ไม่มีจริง อะไรก็ตามที่มีจริง ล้วนเป็นที่ตั้งของสติได้ทั้งนั้น สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว แม้สภาพธรรมจะมีจริง เกิดขึ้นเป็นไปในชีิวิตประจำวัน แต่ก็ไม่สามารถรู้ตามความเป็นจริงได้
-การเจริญสติปัฏฐาน เป็นการอบรมเจริญปัญญา เพื่อเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่า เป็นธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าไม่อาศัยการฟังเรื่องของสภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นปกติ บ่อยๆ เนืองๆ จนมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นไปตามลำดับแล้ว ย่อมไม่ได้เหตุได้ปัจจัยให้สติเกิดขึ้นหรือเจริญขึ้นได้ เพราะเหตุว่าที่ตั้งให้สติระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะนั้น คือสภาพธรรมที่มีในขณะนี้นั่นเอง ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ การเจริญสติปัฏฐาน เป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้ในที่สุด เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม พิจารณาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งให้สติและปัญญาเกิดขึ้น ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งจะเป็นไปเพื่อการละคลายความยึดถือในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้ ดังนั้น หนทางเดียวที่จะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย คือ การเจริญสติปัฏฐาน โดยเริ่มที่การฟังพระธรรมให้เข้าใจ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nong
วันที่ 14 ก.ย. 2554

ถ้าไม่อาศัยการฟังเรื่องของสภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นปกติ บ่อยๆ เนืองๆ จนมี

ความเข้าใจเพิ่มขึ้นไปตามลำดับแล้ว ย่อมไม่ได้เหตุได้ปัจจัยให้สติเกิดขึ้นหรือเจริญขึ้น

ได้....

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 14 ก.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 14 ก.ย. 2554

ขณะที่นอนหลับสนิท ขณะนั้นเป็นภวังค์ สติไม่เกิด ถ้าผู้ที่มีปัญญา ขณะที่คิด

สติปัฏฐานเกิดก็ได้ ไม่เกิดก็ได้ ตามการสะสมปัญญาของแต่ละคนไม่เหมือนกันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pat_jesty
วันที่ 18 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
มหาแสนดี
วันที่ 22 ต.ค. 2554

มหาแสนดี<<<<<แจ่มแจ้งยิ่งนัก>>>>>มหาแสนดี

ขอขอบคุณอย่างยิ่ง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ