เวลาพระพุทธเจ้าหลับ ทำไมเข้าฌาน 4 เสมอ

 
น้ำพริกปลาทู
วันที่  8 ก.ย. 2554
หมายเลข  19676
อ่าน  9,450

เป็นเพราะอะไรเหรอครับ แล้วเวลากำลังจะปรินิพพาน ก็เข้าฌาน 1 2 3 4 และฌานต่างๆ ที่เหนือขึ้นไปและ ถอยเข้าออกฌาน แล้วฌานล่าสุดที่เข้าก่อนปรินิพพาน คือฌาน 4 อีก จากนั้นก็ปริินิพพานทำไมต้องฌาน 4 อะครับ เพราะเวลาหลับก็เข้าฌาน 4 ก่อนปรินิพพานก็ฌาน 4 เป็นฌานสุดท้าย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังจะหลับ พระองค์เข้าฌาน 4 ก่อนอันเป็นธรรมดาอย่างนั้น ที่เรียกว่า ตถาคตไสยาครับ แต่ขณะที่พระองค์หลับ เป็นภวังคจิตครับ

ส่วนขณะที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานนั้น เป็นธรรมดาอีกเช่นกัน คือ ในวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และวันที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน วันนั้นพระองค์จะเสวยสุขด้วยการเข้าสมาบัติมากมาย ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่ว่า ทรงเข้าสมาบัติทั้งหมดนับได้ ๒๔ แสนโกฎิ แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด เหมือนคนไปสู่ต่างประเทศสวมกอดคนที่เป็นญาติ.

พระองค์จึงเข้ารูปฌาน และเข้าอรูปฌาน และเมื่อออกจากอรูปฌาน ก็เข้านิโรธสมาบัติ ดับ จิต เจตสิก ซึ่งพระองค์จะไม่ปรินิพพานหลังจากนิโรธสมาบัติครับ และอรูปฌานเลย เมื่อพระองค์ดับจิต เจตสิกที่เป็นนิโรธสมาบัติแล้วก็ทรงย้อนถอยกลับ เข้า เนวสัญญา...ย้อนไปที่รูปฌานอีกครั้งและสุดท้าย พระองค์เข้าจตุตถฌาน และพิจารณาองค์ของฌานก่อนครับ จึงปรินิพพานด้วยภวังคจิต ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่พระองค์จะต้องพิจารณาองค์ฌานก่อน คือ หลังจากจตุตถฌานเกิดขึ้นและดับไป พระองค์พิจารณาองค์ฌาน จึงปรินิพพาน แต่จะไม่ปรินิพพาน ในอรูปฌานที่ดับไป เหตุผลเพราะพระองค์จะต้องเข้าสมาบัติครบตามจำนวน เพราะหลังจากอรูปฌานดับไป จะต้องเป็นสัญญาเวทนิยตนิโรธสมาบัติ ดับ จิต เจตสิกซึ่งต้องเป็นลำดับต่อไปอย่างนี้ จึงปรินิพพานไม่ได้ จึงต้องปรินิพพาน เมื่อ จตุตถฌานดับไป พิจารณาองค์ฌานและปรินิพพานครับ นี่คือความเป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวกผู้เลิศ มีพระสารีบุตร ที่ปรินิพพานอย่างนี้ครับ เพระาพระองค์ย่อมเสวยสุขด้วยการเข้าสมาบัติจนครบ ๒๔ แสนโกฎิ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 193

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรมเสด็จเข้าสู่นครนิพพาน ทรงเข้าสมาบัติทั้งหมดนับได้ ๒๔แสนโกฎิ แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด เหมือนคนไปสู่ต่างประเทศสวมกอดคนที่เป็นญาติ.

ก็ในคำว่า จตุตฺถชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา สมนนฺตรา ภควาปรินิพฺพุโต นี้ ความว่า. มีลำดับ ๒ อย่างคือ ลำดับแห่งฌาน ๑ ลำดับ แห่งปัจจเวกขณญาณ ๑.

การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌาณหยั่งลงสู่ภวังคจิต แล้วปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าลำดับแห่งฌาน. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌานแล้วพิจารณาองค์ฌานซ้ำอีกหยั่งลงสู่ภวังคจิตแล้วปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าลำดับแห่งปัจจเวกขณญาณ. ลำดับ ๒ อย่างดังว่ามานี้. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานแล้ว ออกจากฌานแล้วทรงพิจารณาองค์ฌานปรินิพพานด้วยอัพยากตทุกขสัจจะอันเป็นภวังคจิต.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kinder
วันที่ 9 ก.ย. 2554

อย่างนี้แล้วในขณะที่พระองค์ปรินิพพาน ใครจะเป็นผู้ที่กล่าวว่าพ.ได้ปรินิพพานแล้ว ขอบคุณ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

ขณะที่พระพุทธเจ้า กำลังจะปรินิพพาน พระอนุรุทธะเข้าสมาบัติ ตามวาระจิตของพระ พุทธองค์อยู่ตลอดเวลาครับ ซึ่งขณะที่พระพุทธองค์เจริญฌานจนถึง นิโรธสมาบัติ ลมหายใจ ไม่มี พระอานนท์หรือบางท่านเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพาน จึงถามท่านพระอนุรุทธะว่า พระ พุทธเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ ท่านพระอนุรุทธะ กล่าวว่า พระพุทธองค์ยังไม่ปรินิพพาน แต่ พระองค์เข้านิโรธสมาบัติครับ และพระพุทธเจ้าก็เจริญลำดับฌานต่อ จนท้ายสุดก็ปรินิพพาน ซึ่งผู้ที่เจริญสมาบัติและรู้วาระจิตตามพระพุทธองค์ก็รู้ครับ และขณะที่ปรินิพพาน ก็มีแผ่นดินหวั่น ไหวน่ากลัว ท้าวสักกะ พระอานนท์ก็ทราบได้ว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kinder
วันที่ 9 ก.ย. 2554
ขอขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 10 ก.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khanathip
วันที่ 5 เม.ย. 2567

อนุโมทนาสาธุค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ