ทุกข์ ในอริยสัจ 4 หมายถึงอย่างไร

 
ท่วมท้น
วันที่  24 ส.ค. 2554
หมายเลข  19561
อ่าน  36,654

เคยรับฟังจากผู้บรรยายธรรม (ไม่ระบุแหล่งที่มา)

ว่า ทุกข์ ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ยากจน ไม่มีเงินใช้

นั้น ไม่ใช่ ทุกข์ ตามหัวข้อธรรมเรื่องอริยสัจ 4

อยากสอบถามว่า ทุกข์ ตามหัวข้อธรรมเรื่องอริยสัจ 4 ที่จริง แล้ว คือ ทุกข์ อย่างไร

และอยากสอบถามว่า ทุกข์ จริงๆ แล้วมีอะไร บ้างอย่างไร ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ทุกขอริยสัจจ์

ทุกฺข (สภาพที่ทนได้ยาก) + อริยสจฺจ (ความจริงอย่างประเสริฐ) ความจริงอย่างประเสริฐคือสภาพที่ทนได้ยาก หมายถึง สภาพธรรมที่เกิดดับ และทำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ คือ จิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ ซึ่งเป็นโลกียธรรมทั้งหมด

จิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ เป็นความจริงอย่างประเสริฐ เพราะผู้ที่ตรัสรู้ความจริง คือทุกขธรรมเหล่านี้แล้ว เป็นผู้เข้าถึงความประเสริฐ คือเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยเจ้า

อริยสัจธรรมที่ ๑ คือ ทุกขอริยสัจ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”

ดังนั้นทุกขอริยสัจจะ จึงกินความกว้างขวาง ทั้งสภาพธรรมที่เป็นทุกขทุกข์ ที่เป็นทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิตด้วย ไม่ว่า ทุกข์ คือ ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ก็เป็นทุกขอริยสัจจะ สัจจะ. ความป่วยไข้ทางกายและจิต มีปวดหู ปวดฟัน ความเร่าร้อนเกิดแต่ราคะ ความเร่าร้อนเกิดแต่โทสะเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์เล็กน้อย ปกปิด ต้องถามจึงรู้) เป็นทุกขอริยสัจจะด้วยครับ รวมทั้งสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปด้วยครับก็เป็นทุกขอริยสัจจะ และสภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือ สภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ทั้งรูปภายในและรูปภายนอก รวมทั้งนามธรรมที่เป็นจิต และเจตสิกทีเ่กิดขึ้นในชีวิตประจำวันก็เป็นสภาพธรรมที่ควรกำนหดรู้ เป็นทุกขอริยสัจจะครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.... ลักษณะของทุกข์ของก้อนหินก้อนหนึ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2554

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือ

ทุกขทุกข์ (ทุกข์เพราะทนได้ยาก)

วิปริณามทุกข์ (ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง)

สังขารทุกข์ (ทุกข์ของสังขาร)

ปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์ปกปิด)

อัปปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์เปิดเผย)

ปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยอ้อม)

นิปปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยตรง) .

ทุกขทุกข์ คือ ทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิต ชื่อว่า เพราะเป็นทุกข์ทั้ง

โดยสภาวะทั้งโดยชื่อ.

วิปริณามทุกข์ คือ สุขเวทนา เพราะเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ โดยการเปลี่ยนแปลง.

สังขารทุกข์ คือ อุเบกขาเวทนา และสังขารทั้งหลายที่เหลือเป็นไปในภูมิ ๓

เพราะถูกความเกิดและดับบีบคั้น ก็ความบีบคั้น (ด้วยความเกิดและดับ)

ย่อมมีแม้แก่มรรคและผลทั้งหลายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าธรรม

เหล่านั้น ชื่อว่า สังขารทุกข์ ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยทุกขสัจจะ.

ปฏิจฉันนทุกข์ คือ ป่วยไข้ทางกายและจิตมีปวดหู ปวดฟัน ความเร่าร้อนเกิดแต่

ราคะ ความเร่าร้อนเกิดแต่โทสะเป็นต้น เพราะต้องถามจึงรู้และเพราะก้าวเข้าไป

แล้วก็ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า ทุกข์ไม่ปรากฏดังนี้บ้าง

อัปปฏิจฉันนทุกข์ ความป่วยไข้มีการถูกลงกรรมกรณ์ ๓๒ เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน

ชื่อพราะไม่ถามก็รู้ได้ และเพราะเข้าถึงแล้วก็ปรากฏ

นิปปริยายทุกข์. คือ ทุกขทุกข์

เว้นทุกขทุกข์ที่เหลือ ชื่อว่า ปริยายทุกข์ เพราะเป็นวัตถุ (ที่อาศัยเกิด) แห่งทุกข์

นั้นๆ .

ในบรรดาทุกข์เหล่านั้น พึงกล่าวทุกขอริยสัจตั้งไว้ใน ๒ บท นี้ คือ

ปริยายทุกข์ และนิปปริยายทุกข์

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 24 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ท่วมท้น
วันที่ 24 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 24 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาัสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อริยสัจจ์ ๔ เป็นธรรมที่มีจริงที่ทำให้ผู้รู้แจ้งถึงความเป็นพระอริยะ ห่างไกลจากข้าศึกคือกิเลสตามลำดับขั้น ว่าโดยประเภทแล้ว มี ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค, ทุกข์ หมายถึงสภาพธรรมที่เกิดดับ เป็นไปกับด้วยสังสารวัฏฏ์ เป็นไปในฝ่ายเกิด, สมุทัย เป็นเหตุแห่งทุกข์ ที่มีสภาพธรรมที่เป็นทุกข์นี้ ก็เพราะตัณหา ตราบใดที่ยังมีตัณหา ก็ยังไม่พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ ทุกข์และสมุทัย เป็นโลกิยธรรม เป็นไปในฝ่ายเกิด, นิโรธ เป็นความดับทุกข์ ดับกิเลส, มรรค เป็นหนทางอันประเสริฐที่จะดำเนินไปถึงซึ่งความดับทุกข์, นิโรธ และ มรรค ทั้งแปดองค์เกิดพร้อมกับมรรคจิต เป็นโลกุตตรธรรม สำหรับในส่วนของทุกข์นั้น ไม่ว่าจะเป็นปวดหัว ตัวร้อน เป็นต้น ล้วนไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไปเท่านั้นจริงๆ ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของนามธรรม กับ รูปธรรมเลย และถึงว่าแม้ว่าจะไม่ปวดหัว จะไม่ตัวร้อน ก็เป็นทุกข์ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้นเป็นทุกข์ เพราะตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เห็น เป็นทุกข์ ได้ยิน เป็นทุกข์ ได้กลิ่น เป็นทุกข์ เป็นต้น ที่ควรจะได้ฟัง ได้ศึกษาให้เข้าใจอย่างแท้จริง ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เท่านั้นจริงๆ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
aurasa
วันที่ 24 ส.ค. 2554
กราบขอบพระคุณและอนุโมทนากับทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 24 ส.ค. 2554
รู้ทุกขอริยสัจจ์ รู้ลักษณะที่เกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมทั้งหลายที่ปรากฏ ค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
worrasak
วันที่ 5 มิ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ