พระไตรปิฎกกับสุขภาพ

 
patnaree
วันที่  6 ธ.ค. 2553
หมายเลข  17589
อ่าน  3,765

การดูแลสุขภาพ ในพระไตรปิฎก กล่าวไว้อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chaiyut
วันที่ 8 ธ.ค. 2553

การดูแลสุขภาพสำหรับคฤหัสถ์ ส่วนใหญ่เป็นไปตามอกุศลจิต ไม่ได้เป็นไปเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการศึกษาธรรม ประพฤติปฏิบัติธรรม รักษาพรหมจรรย์ ขัดเกลาละคลายกิเลสอย่างเพศบรรพชิต คฤหัสถ์ส่วนใหญ่ดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายน่าดูน่าชม ผิวพรรณผ่องใส เปล่งปลั่ง แข็งแรง เพื่อสนองความยินดีพอใจ หมกมุ่นพัวพันในการเสพความสุขในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อย่างมาก ซึ่งตรงนี้พระพุทธเจ้า ไม่ทรงสรรเสริญเพราะเหตุว่าเป็นกุศล แต่ถ้าจะเพียงดูแลร่างกายให้แข็งแรงพอเหมาะพอควร ยังอัตภาพให้เป็นไปเพื่อความสะดวก ต่อการเจริญกุศลในชีวิตประจำวัน ก็เป็นสิ่งที่สมควรกระทำ พระองค์จึงทรงแสดงว่า "ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ" ถ้าไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเลย ผิวพรรณก็ย่อมจะเศร้าหมอง มีมลทิน

ขอเชิญคลิกอ่านครับ >>

มลทิน ๘ ประการ [มลสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 10 ธ.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณ chaiyut ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
jipoam
วันที่ 22 ม.ค. 2554

สาธุ สาธุ __/l__ ขอรับกระผม "แต่ถ้าจะเพียงดูแลร่างกายให้แข็งแรงพอเหมาะพอควรยังอัตภาพให้เป็นไปเพื่อความสะดวกต่อการเจริญกุศลในชีวิตประจำวัน ก็เป็นสิ่งที่สมควรกระทำ"

.. (-.-) / ว่าแต่คำว่าพอประมาณนี้ขนาดไหนขอรับ ขนาดไหน ที่มันพอจะเรียกได้ว่าสมดุล? ที่มันเหมาะสมแก่ ทิศทาง พลังงาน เวลา ภาระหน้าที่ การงาน ตั้งแต่ตื่น-ยันหลับ ฯลฯ ในจังหวะทั้งหมดของชีวิตอันเปราะบางบนโลกใบนี้ ขอความกระจ่าง เป็นตัวอย่างรูปธรรมสักตัวอย่างหนึ่ง แก่ สหายผู้ร่วมทางธรรมด้วยขอรับกระผม

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chaiyut
วันที่ 23 ม.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 3

แต่ละท่าน มีการสะสมอุปนิสัยมา ไม่เหมือนกัน ความเหมาะสมจึงวัดไม่ได้ว่าประมาณไหนจึงจะพอสมควรกับใคร เพราะไม่มีใครจะรู้ถึงการสะสมกุศล - อกุศลมาในแสนโกฏิกัปป์ของผู้อื่น นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ ฉะนั้น ผู้ที่ยังมีอกุศล เช่น โลภะ ย่อมติดข้องในสิ่งต่างๆ หลากหลายนานัปประการไม่เท่ากัน บางท่านชอบล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ในขณะที่บางท่านชอบใช้โฟมล้างหน้า บางท่านชอบใช้ครีมอาบน้ำ ในขณะที่บางท่านแค่สบู่อะไรก็ได้ก็พอแล้ว แต่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ท่านก็ยังฟังธรรมและศึกษาธรรม ด้วยเหตุนี้ สิ่งเดียวที่จะช่วยให้ผู้ที่เป็นฆราวาส ได้เข้าใจความเหมาะสมของการดำรงชีวิตของตัวท่านเอง ก็คือ "ปัญญา" ครับ ปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้นจากการฟัง ที่จะทำให้ท่านค่อยๆ รู้จักการสะสมของตนเองว่า หนัก เบาด้านไหนมาก - น้อยแค่ไหน ซึ่งไม่ใช่การฝืนไปเป็นอีกแบบหนึ่งซึ่งไม่ใช่อัธยาศัยของท่านเอง แต่ทุกคนที่เข้าใจธรรม แล้วก็เป็นตัวของตัวเอง ดำรงชีวิตตามปกติพอเหมาะพอควรแก่อัธยาศัยของตน แม้ว่าเป็นผู้ที่ยังติดข้องอยู่ แต่ก็ไม่ควรให้ถึงระดับที่จะกระทำทุจริตกรรม เช่น การขโมยของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้ เป็นต้น พร้อมกันนั้นก็ศึกษาธรรม เพื่อเข้าใจ เพื่อละ เพื่อขัดเกลากิเลสตามตามลำดับขั้น ตามกำลังปัญญาของแต่ละบุคคล ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 23 ม.ค. 2554

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่มที่ 36 หน้าที่ 267

๖. ทุติยอนายุสสสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้อายุสั้น และอายุยืน

[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่กระทำความสบายแก่ตนเอง ๑ ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑ เป็นคนทุศีล ๑ มีมิตรเลวทราม ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมเป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑ รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ มีมิตรดีงาม ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน

จบ ทุติยอนายุสสสูตรที่ ๖


ถ้าอยากจะมีอายุยืนยาวก็ควรทานอาหารที่ย่อยง่ายนะคะ ร่างกายจะได้ไม่ต้องทำงานหนัก ไม่มีสารพิษตกค้างจากกระบวนการย่อยอาหาร ออกกำลังกายบ้าง เพื่อให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ปอดและหัวใจทำงานดีขึ้น เว้นขาดจากการกระทำทุจริตกรรม โดยเฉพาะปาณาติบาตค่ะ ส่วนการคบมิตรเลวทรามก็มีแต่จะนำความเสื่อมมาให้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
intira2501
วันที่ 27 ม.ค. 2554

มิตรดีงามนี่พบหายากจจริงหนอ แม้การเป็นมิตรของตนเองก็ยังยาก

ขอขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
เซจาน้อย
วันที่ 29 ม.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ