อาชีพ ดารา นักร้อง นักแสดง นักประพันธ์

 
sittirat
วันที่  6 ส.ค. 2549
หมายเลข  1757
อ่าน  7,115

เคยได้ยินมาว่า อาชีพ ดารา นักร้อง นักแสดง นักประพันธ์ เป็นอาชีพที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ต้องไป "นรก" เนื่องจากว่า เป็นอาชีพที่ ทำให้คนมีกิเลส ลุ่มหลง ขาดสติรบกวน ทีมงานบ้านธัมมะ ช่วยบอกด้วยครับว่า พระพุทธเจ้าตรัสถึงโทษของอาชีพดารา นักร้อง นักแสดง นักประพันธ์ มีโทษอย่างไร..... ขอทราบว่าอยู่หน้าไหนของพระไตรปิฏกด้วยครับ ...

อนุโมทนา ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 6 ส.ค. 2549

ธรรมะเป็นเรื่องละเอียด ควรศึกษาโดยละเอียดจึงจะได้รับความถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องกรรม ทรงแสดงว่าอกุศลกรรมบถ ทำให้เกิดในอบายภูมิ กุศลกรรมบถทำให้เกิดในสุคติภูมิ สำหรับปุถุชน เป็นผู้มีคติไม่แน่นอน จะประกอบอาชีพใดก็ตามย่อมมีโอกาสเกิดในสุคติหรืออบายภูมิก็ย่อมได้ทั้งสิ้น คือ ในขณะใกล้ตาย กรรมประเภทใดจะทำกิจนำเกิด คือ ถ้ากุศลกรรมนำเกิดย่อมเกิดในสุคติภูมิ ถ้าอกุศลกรรมนำเกิดย่อมเกิดในอบายภูมิ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร แต่ขึ้นอยู่ที่กรรมนำเกิด เพราะทุกอาชีพมีการกระทำทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม ส่วนข้อความในตาลปุตตสูตร กล่าวถึงนักฟ้อนที่มาทูลถามปัญหาเรื่องอาชีพนักเต้นรำที่มีความประมาทและความเห็นผิดและที่สำคัญต้องประกอบพระธรรมในส่วนอื่นด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 6 ส.ค. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornchai.s
วันที่ 6 ส.ค. 2549

ใช่ครับ ต้องยึดหลักที่ว่า ผู้ใดกระทำอกุศลกรรม เมื่ออกุศลกรรมให้ผลนำปฏิสนธิ ก็ย่อมเกิดในอบายภูมิ ถ้ากุศลกรรมให้ผลนำปฏิสนธิ ก็ย่อมเกิดในสุคติภูมิ ไม่ว่าผู้นั้นจะประกอบอาชีพอะไรก็ตาม และถ้าประกอบอกุศลกรรมพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ก็เป็นมโนกรรม (ให้ผลมากกว่า กายกรรม หรือ วจีกรรม)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
jittakorn
วันที่ 7 ส.ค. 2549

ทางพระพุทธศาสนา เราใช้เจตนาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์กรรมและวิบาก เช่นเจตนาก่อนกระทำ - ขณะกระทำ และสำเร็จผลที่กระทำไป ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ฟาง
วันที่ 8 ส.ค. 2549

ความในตาลปุตตสูตรว่า นักแสดงทำให้คนดูมีมากในราคะ โทสะ โมหะ นักแสดงนั้นย่อมประกอบอกุศลกรรมโดยความเห็นผิด ต้องไปเกิดในนรกชื่อปหาสะ แต่กรรม (กิเลส) เป็นของแต่ละบุคคลไม่อาจทำแทนกันได้มิใช่หรือ ทำไมนักแสดงจึงต้องไปรับกรรมแทนคนดู

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prakaimuk.k
วันที่ 8 ส.ค. 2549

ไม่มีผู้ใดรับกรรมแทนกันได้ ทุกคนย่อมมีกรรมของตนเองต่างๆ กันไป "...เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ..." (พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย ปัญจก๒ ฉกนิบาต เล่ม ๓ หน้า ๑๓๘ ฐานสูตร)

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
study
วันที่ 8 ส.ค. 2549

อนุโมทนาคุณ prakaimuk.k

ขอเพิ่มเติม ข้อความในพระสูตรหมายถึงผู้แสดงการเต้นรำ มีความประมาทมัวเมาและมีความเห็นผิดว่าการกระทำนั้นจะทำให้ไปเกิดบนสวรรค์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ภัสร์
วันที่ 2 ก.ย. 2553

การพูดคุยที่ไม่เป็นประโยชน์ แต่ไม่พูดเท็จ หยาบ ส่อเสียดเช่นพูดคุยสนุกกัน ค่อนข้างละเอียดเข้าใจยาก ขอไขให้ทราบด้วยครับ เพราะบางคนไม่ค่อยชอบสิ่งที่เป็นสาระ แต่ชอบสิ่งที่เป็นไปตามโลภะ มานะ ทิฏฐิของตน บางครั้งก็จำต้องว่าไปตามสังคม เข้าใจว่าไม่น่าจะเป็นอกุศลกรรมบถทางวาจา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
prachern.s
วันที่ 2 ก.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ ๘

ถ้าวาจาเป็นไปกับทาน ศีล ภาวนา ไม่ใช่อกุศลกรรมบถ ถ้าพูดด้วยอกุศลจิต ยากที่จะพ้นจากทุจริตทางวาจา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นอยู่ที่สภาพจิตเป็นสำคัญ..

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ