สติปัฏฐาน 4

 
Patchanas
วันที่  3 ส.ค. 2553
หมายเลข  16863
อ่าน  2,673

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการ ก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ใน การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

1. จากข้อความ ข้างต้น คำว่า ทำความรู้สึกต้ว กับคำว่า ระลึกรู้ มีความหมายเหมือนกันหรือไม่ครับ

2. คำว่า พิจารณา กายในกาย คำว่า พิจารณาหมายถึง คิดใช่หรือไม่ครับ

3. พิจารณากายในกาย-ภายใน ภายนอก ภายในและภายนอก คำว่า ภายใน ภายนอกหมายความว่า อย่างไรครับ

4. คำว่า พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นความเสื่อมในกายบ้าง คำว่า เห็นธรรมคือเห็นอะไรครับ ถ้าพิจารณาแปลว่าคิด จากคำข้างต้น แสดงว่า เมื่อเห็นกายแล้วให้คิดถึงความเกิดขึ้นและดับไปของกายใช่หรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 4 ส.ค. 2553
๑.หมายถึงไม่หลงลืมสติ คือมีสติและสัมปชัญญะ ๒. บาลีคือ กาเย กายานุปัสฺสี การพิจารณาเป็นกิจของปัญญา ซึ่งมีหลายระดับ ขั้นสูงคือ อนุปัสสนา ๗ ขั้นอบรมเริ่มตั้งแต่การพิจารณาด้วยความเข้าใจ คือมีสัมปชัญญะในขณะนั้น ไม่ใช่คิดแบบธรรมดา๓.ภายในหมายถึง กายที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ภายนอกหมายถึงผู้อื่น๔.คำว่า "ธรรม"ในกายานุปัสสนาหมายถึงรูปที่ยึดถือว่าเป็นกาย และไม่ใช่เพียงคิดแต่ต้องรู้จริงๆ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Patchanas
วันที่ 4 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนา

๒. บาลีคือ กาเย กายานุปัสฺสี การพิจารณาเป็นกิจของปัญญา ซึ่งมีหลายระดับ ขั้นสูงคือ อนุปัสสนา ๗ ขั้นอบรมเริ่มตั้งแต่การพิจารณาด้วยความเข้าใจ คือมีสัมปชัญญะในขณะนั้น ไม่ใช่คิดแบบธรรมดา

ขอความกระจ่างอีกนิดครับ ยังคงไม่ค่อยเข้าใจครับ ที่ว่าไม่ใช่คิดแบบธรรมดาเป็นเช่นไร ครับ หรือจะหมายถึง เมื่อมีสติระลึกรู้กายถ้ามีปัญญาประกอบ จะประจัก ต่อหน้าต่อตาเลยถึงสภาวะไตรลักษณ์ ของกายเลย ว่า เป็นเพียงธาตุ ไม่ใช่สัตว์บุคคลเราเขา

เพราะ คำวาพิจารณา ผมยังเข้าใจ ว่า เป็นการคิด

หรือคำว่าพิจาณา ในบาลี ตีความต่างจาก คำว่าพิจารณาที่ใช้ทางโลกครับ เพราะ เห็นข้อความในข้อ 2 ว่า ปัญญาพิจารณาเป็นเรื่องของอนุปัสสนา ๗ ขั้น ฉะนั้น การใช่คำว่าพิจารณอาจทำให้ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาไขว้เขวได้ว่า เป็นเพียงการนึกคิดธรรมดา ซึ่งคงต้องศึกษาอย่างละเอียด

ขอความกรุณา แจง อนุปัสสนา 7 ขั้น ให้ด้วยได้หรือไม่ครับ

กราบขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 4 ส.ค. 2553

คำว่า พิจารณา ที่ใช้กันทั่วๆ ไป หมายถึง การคิด แต่ในภาษาธรรมมีความหมายที่กว้างกว่านั้นคือมีหลายระดับขั้น ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูง เริ่มตั้งแต่การพิจารณาไตร่ตรองตามพระธรรมที่ศึกษามา การพิจารณาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ การประจักษ์แจ้งด้วยวิปัสสนาญาณ เป็นต้นท่านก็ใช้คำว่า พิจารณาครับ เช่นข้อความจากอรรถกถาสติปัฏฐานสูตรตอนหนึ่งว่า ....จริงอย่างนั้น ภิกษุผู้ปฏิบัติ กาเย กายานุปัสสนาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติว่าด้วยการพิจารณากายในกาย) นี้ พึงทราบว่า จะพิจารณาเห็นกายนี้ ด้วยอำนาจของอนุปัสสนา ๗ ประการ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น คือจะพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่จะพิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง จะพิจารณาเห็นโดยเป็นทุกข์ ไม่ใช้จะพิจารณาเห็นโดยเป็นสุข ...อนุปัสสนาขอเชิญคลิกอ่านที่

อนุปัสสนา ๗ และ มหาวิปัสนา ๑๘

อนุปัสสนา ๗ [อรรถกถาญาตัฏฐญาณุทเทส]

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 4 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 4 ส.ค. 2553

ขณะที่ประเสริฐที่สุด คือขณะที่มีโอกาสฟังธรรมแล้วเข้าใจ แล้วสติปัฏฐานเกิดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
kullasri
วันที่ 5 ส.ค. 2553

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความเห็นที่ ๕ ค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
รากไม้
วันที่ 5 ส.ค. 2553

สติปัฏฐาน 4 ...มีหลายระดับขั้นมาก เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก และแตกแขนงไปกว้างมาก

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ผมอยากให้มูลนิธิฯ พิจารณาการทำเป็นหนังสือเรื่อง สติปัฏฐาน โดยเฉพาะออกมาซักเล่มนึง , รวมเอา สมถะภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา ไว้ด้วย ก็ยิ่งดีครับ

สติปัฏฐาน นั้นควรแก่การศึกษาให้ละเอียด เพราะผู้ที่เข้าใจผิดนั้นมีมากจริงๆ

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Patchanas
วันที่ 5 ส.ค. 2553

ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องของความเข้าใจ ครับ

จริงๆ แล้วมีการใช้ คำทางโลก ตีความความหมายทางธรรม ซึ่ง บ่อยครั้ง คลาดเคลื่อนจากสถาวะ เช่น ฟังธรรมแล้วเข้าใจ ตามความเห็นของผม ไม่ใช่เข้าใจแต่เป็นเพียงเข้าสมอง โดยใช้ตรรกความคิด

ถ้าจะให้เข้าใจจริงๆ คือเข้าไปในจิตในใจ คือจิตคล้อยตามสถาพปรมัตฐจริงๆ จะเกิดเมื่อเจริญสติปัฏฐานอยู่เนื่องๆ จนมีความรู้ขี้มมา เมื่อรู้จะเป็นการรู้แบบรู้สึกจากใจมิใช่การจากการคิดเปรียบเทียบโดยเหตุผล อย่างเช่นผมเข้าใจว่า ทุกสิ่ง เป็นไตรกลักษณ แต่ ถ้าว่า ตามจิตใจ แล้วยังไม่คล้อยตามยังเห็นเป็น สุข บ้างทุกบ้าง สวยบ้างไม่สวยบ้าง

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Patchanas
วันที่ 5 ส.ค. 2553

ขอถามครับ

ได้ยินมาว่า ปัจจัย ที่ให้สติ เกิดคือ การที่สติมีการจดจำสถาวะได้แม่นยำ หรือเรียกว่า ถิรสัญญา

คนหาจากพระไตรปิฎก online กลับไม่ พบคำนี้

รบกวนถามผู้รุ้ว่า ถิรสัญญาเป็นปัจจัยให้สติเกิดหรือไม่ครับ และ เป็นสติทีมีการจดจำสภาะวธรรมได้แม่ยำใช่หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prachern.s
วันที่ 6 ส.ค. 2553

ในลักขณาทิจตุกะ ของสติ แสดงเหตุใกล้ของสติว่า ถิรสัญญาปทัฏฐานา มีสัญญา

มั่งคงเป็นเหตุใกล้ ..... ....ควรจะเป็นสัญญาที่จำสภาพธรรมอย่างถูกต้องที่มั่นคง

ไม่ใช่จำอย่างอื่น อนึ่งโดยนัยพระสูตรหลายสูตร แสดงเหตุเกิดสติ มีนัยที่ต่างกัน

กับนัยนี้ก็มี ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่

เหตุให้เกิดสติสัมปชัญญะและสติปัฏฐาน [ตัณหาสูตร]

สัญญา เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติได้อย่างไร? สติเกิดขึ้นจากอะไรเป็นปัจจัยทำให้เกิดสติครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Patchanas
วันที่ 6 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ สำหรับ ความกระจ่าง

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pat6625
วันที่ 7 ส.ค. 2553
ขอบคุณ และขออนุโมทนา ค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ