ก่อนจะถึง...สติปัฏฐาน

 
พุทธรักษา
วันที่  30 ม.ค. 2553
หมายเลข  15322
อ่าน  4,720

ขอเชิญอ่านโดยตรงจากพระไตรปิฎก

วชิราสูตร [ว่าด้วยมารรบกวนวชิราภิกษุณี]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ผู้ฟัง หมายความว่า การศึกษาพระธรรม ยังไม่มากพอที่จะเป็นปัจจัยให้สติระลึก สติก็ยังไม่ระลึก? แล้วถ้าหากว่า สติยังระลึกไม่ได้ ก็ให้ศึกษาพระธรรมต่อไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้นๆ มีทางเดียวเท่านั้น

อ.สุจินต์ ท่านผู้ฟัง ศึกษาพระธรรม เพื่ออะไร เพื่อละความไม่รู้หรือเพื่อที่จะระลึก

ผู้ฟัง เพื่อละความไม่รู้ค่ะ

อ.สุจินต์ เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องเป็นห่วง เมื่อฟังพระธรรมจนกระทั่งเกิด "ความเข้าใจที่มั่นคงจริงๆ " สติ จะไม่ระลึกนั้น มีหรือ แต่ถ้าฟังพระธรรมแล้วก็ยังไม่เข้าใจ แล้วจะไประลึก นั้น ถูกไหม ถ้าฟังพระธรรมแล้วยังไม่เข้าใจ ก็ควรที่จะฟังให้เข้าใจขึ้นๆ ขณะที่กำลังเข้าใจขึ้นๆ นั้นคือ "การระลึก" เกิดแล้วเพียงแต่ไม่รู้ว่า "สภาพธรรมที่มีลักษณะระลึก" เกิดแล้ว ซึ่งใช้คำ เรียกว่า "สติ" แต่ขณะที่กำลังฟังพระธรรมแล้วเข้าใจ ไม่ใช่ขณะที่กำลังระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม เพียงแต่ "รู้เรื่องของธรรมะ และเข้าใจเรื่องของสภาพธรรมที่ได้ฟัง" นี่เป็น "สติ" ขั้นแรก จนกว่า ความเข้าใจจากการฟังพระธรรมจะมั่นคงจริงๆ จนกระทั่งสติขั้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดปรากฏ ซึ่งเป็น "สิ่งที่มีจริงๆ " ขณะนั้น ก็สามารถที่จะรู้ว่า สิ่งที่มีจริงๆ นั้น ... มีจริงอย่างไร

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคฯทรงแสดง เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง และกำลังมีในขณะนี้ด้วย แสดงให้เห็นว่า "ความเข้าใจ" แต่ละระดับ จะมากหรือน้อยแค่ไหนก็ ต้องมาจาก "การสะสม" และ "ความเข้าใจ" คือสะสมความเข้าใจในสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ทีละเล็กทีละน้อย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ผู้ฟัง   ถ้าหากว่ายังไม่เข้าใจ แล้วพยายามที่จะไประลึกอย่างนี้ ก็จะยิ่งลำบาก

อ.สุจินต์   ถูกต้องค่ะ เหนื่อยเปล่าและเสียเวลาด้วย

ผู้ฟัง   ความเข้าใจ คือ การฟัง?

อ.สุจินต์   ฟังแล้วเกิดความเข้าใจ เมื่อสภาพธรรมที่เข้าใจเกิดขึ้น สภาพธรรมที่เข้าใจนั้น ก็ต้องดับไป และต่อจากนั้นก็เป็น "สภาพธรรมอื่นๆ " เช่น โลภะบ้าง โทสะบ้าง คือกุศลจิตหรืออกุศลจิต เกิดต่อไป ซึ่งก็แล้วแต่ "เหตุปัจจัย" แต่ทั้งหมดเป็น "ธรรมะ" หมายความว่า เมื่อ "ปัญญา" มีกำลังมากพอ "ปัญญา" จะรู้ว่าสภาพธรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สติ โลภะ โทสะ ฯลฯ ที่เกิด-ปรากฏ นั้นเป็น "ธรรม" คือสภาพธรรมแต่ละประเภทๆ เท่านั้น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ใดๆ ทั้งสิ้น

ผู้ฟัง   ถ้า "วิชชา" คือ ความรู้หรือปัญญา เกิดขึ้น บุคคลนั้นก็อาจจะไม่รู้ ใช่ไหมครับ?

อ.สุจินต์   ถูกต้องค่ะ เช่น แม้จะมีสภาพแข็งปรากฏ ซึ่งเพียงปรากฏเล็กน้อยเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก ปรากฏแล้ว-ดับไปทันที ผ่านไปแล้วหมดไปแล้ว ยิ่งพยายามที่จะไประลึกถึงสภาพธรรมซึ่งเกิด-ดับ-ผ่านไป-หมดไปแล้วมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็น "ตัวเรา" ที่พยายามไประลึกถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ! เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ให้สติระลึกแต่ไม่เข้าใจว่าสติคืออะไร ยิ่งไปพยายามให้สติระลึก ก็เป็นตัวเราที่พยายามที่จะไปทำ ยิ่งทำเท่าไรก็ "เป็นตัวเรา" ที่ทำ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ผู้ฟัง   ขณะที่กุศลจิตเกิด ... ขณะนั้นเป็น "สติ" ใช่ไหมครับ?

อ.สุจินต์   เดี๋ยวก่อน หมายถึงขณะไหน ขณะที่ "กุศลจิต" เกิด ขณะนั้นไม่ใช่ขณะที่ "ลักษณะของสติ" ปรากฏ ! โดยมากมักจะ "ข้ามความเข้าใจ" คือ ข้ามถความเข้าใจในความเป็นธรรมะ แต่มักจะเรียกชื่อ เช่น คำว่า "สติ" รู้ชื่อ แต่ไม่รู้ว่าสติคือสภาพธรรม หรือพยายามที่จะไปรู้ว่า อย่างนี้เรียกว่า "กุศล" หรืออย่างนี้ เรียกว่า "อกุศล" แต่ ไม่รู้ "ลักษณะ" ที่เป็น "ธรรมะ" คือเรียกชื่อของสภาพธรรมแต่ไม่รู้ลักษณะที่เป็นสภาพธรรม

ความเป็นสภาพธรรมของสิ่งที่มีจริงๆ นั้นเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีเหตุปัจจัย เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับไปทันที ! โดยมาก ข้ามการพิจารณาว่า แท้จริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอะไรที่เกิด-ปรากฏ สิ่งนั้นเกิดปรากฏเพราะมี "ปัจจัย" จึงเกิดขึ้น เมื่อหมดปัจจัยก็ต้องดับไปเป็นปกติ ธรรมดา และ "ธรรมะ" มีความหลากหลาย เช่น ขณะที่โลภะ ความติดข้องพอใจเกิดขึ้น ขณะนั้นไม่ใช่ขณะที่เห็น ถ้ามีความเข้าใจก็คือเข้าใจว่า สภาพธรรมทั้ง ๒ ประเภทนี้มีความต่างกัน คือ รู้จัก "ตัวธรรมะ" ที่ต่างกัน เพราะเหตุว่า การเห็นก็เป็นสภาพธรรมประเภทหนึ่ง ส่วนโลภะ ก็เป็นสภาพธรรมอีกประเภทหนึ่ง แต่ทั้ง ๒ ประเภท เป็นต้นนั้น ล้วนเป็น "ธรรมะ" ทั้งสิ้น แทนที่จะพยายามไปเรียกชื่อ ระบุชื่อ ว่านี่คือเห็น เป็นจักขุวิญญาณ นั่นเป็นโลภะมีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย หรือโลภะที่ไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย ฯลฯ หรือพยายามที่จะไปคิดอะไรๆ แทนที่ "ควร" จะเข้าใจก่อนว่า "ธรรมะ" คือสิ่งที่มีจริงๆ เมื่อปรากฏก็ปรากฏโดยมี "ลักษณะที่ต่างๆ กัน" รู้ว่ามี "ลักษณะ" ต่างกัน แม้โดยไม่เรียกชื่อ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2553

อนุโมทนาด้วยครับ

อ่านดี

ที่สำคัญที่สุดคือเริ่มจากการฟังให้เข้าใจ ไม่ใช่ไปสติปัฏฐานเลย เป็นประโยชน์ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 30 ม.ค. 2553

" ... เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ให้สติระลึกแต่ไม่เข้าใจว่าสติคืออะไร ยิ่งไปพยายามให้สติระลึกก็เป็นตัวเราที่พยายามที่จะไปทำ ยิ่งทำเท่าไร ... ก็ "เป็นตัวเรา" ที่ทำ ! ..."

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 30 ม.ค. 2553

เมื่อฟังพระธรรม จนกระทั่งเกิด "ความเข้าใจที่มั่นคงจริงๆ " สติ จะไม่ระลึกนั้น มีหรือ?

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Sam
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
รากไม้
วันที่ 30 ม.ค. 2553

กระทู้นี้มีประโยชน์มากครับ สำหรับผู้สนใจ สติปัฏฐาน

ขอกราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
aditap
วันที่ 31 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
narong.p
วันที่ 31 ม.ค. 2553

ไม่ต้องห่วงว่าเมื่อไรสติปัฏฐานจะเกิด ถ้าห่วงก็เป็นเรา ลืมว่าทุกอย่างเป็นธรรม แสดงว่าความเข้าใจยังไม่มั่นคง สติปัฏฐานก็ไม่เกิดแน่นอน

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วิริยะ
วันที่ 31 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 31 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
bsomsuda
วันที่ 31 ม.ค. 2553

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
jbk02
วันที่ 1 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
jbk02
วันที่ 1 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
orawan.c
วันที่ 1 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
คุณ
วันที่ 12 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
เซจาน้อย
วันที่ 16 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
วิริยะ
วันที่ 3 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
doungjai
วันที่ 3 ธ.ค. 2554

ขอถามต่อค่ะ

ธรรมก็คือชีวิตจริงในขณะนี้ของบุคคลทั่วไป ที่มีเหตุปัจจัยให้เกิด แต่บุคคลทั่วไปไม่ทราบว่าเป็นธรรม ว่าแท้จริงไม่ใช่เรา เข้าใจถูกต้องหรือไม่ ขอเรียนถามด้วยค่ะ

กราบขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
พุทธรักษา
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

เรียน คุณดวงใจ

พระผู้มีพระภาคเจ้าฯ ทรงตรัสรู้ ว่า "ชีวิต" ที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นสัตว์ บุคคล เป็นสิ่งต่างๆ นั้น แท้จริงแล้วเป็น "ธรรม" ธรรมหรือธัมมะ ไม่พ้นไปจาก จิต เจตสิก รูป นิพพาน (ปรมัตถธรรม ๔) และ ชีวิตประจำวันก็คือ จิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เกิดดับสืบต่อไม่ขาดสาย เป็นความจริงที่ยากที่บุคคลทั่วไปจะรู้ตามความจริงนี้ได้ ค่ะ

ขอเชิญทุกท่านร่วมสนทนา

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
พุทธรักษา
วันที่ 27 ธ.ค. 2554

เรียน ท่านวิทยากร ที่นับถือ

ขอความกรุณาค้นคว้าข้อความในพระไตรปิฎก ตามที่คุณนันทภพขอมาด้วยนะคะ. ดิฉันตอบไปตามความรู้ที่ได้ศึกษาจากหนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" "หนังสือปรมัตถธรรมสังเขป" และ "ธรรมบรรยาย" โดยท่านอาจารย์สุจินต์.

ในส่วนของพระไตรปิฎกนั้น กำลังจะเริ่มต้นศึกษา (อ่าน) ไปตามลำดับ จึงไม่สามารถค้นคว้าให้ด้วยตัวเองได้ ขออภัยด้วยค่ะ

ขอบคุณและขออนุโมทนา ในกุศลจิตของทุกท่าน ค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
paderm
วันที่ 27 ธ.ค. 2554

ขอเชิญอ่านโดยตรงจากพระไตรปิฎก

วชิราสูตร [ว่าด้วยมารรบกวนวชิราภิกษุณี]

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
nopwong
วันที่ 11 ธ.ค. 2555

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
papon
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
peem
วันที่ 22 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
thilda
วันที่ 28 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 33  
 
orawan.c
วันที่ 16 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 34  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 16 ต.ค. 2556

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
napachant
วันที่ 14 ม.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 36  
 
kullawat
วันที่ 28 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 37  
 
sutep
วันที่ 5 มี.ค. 2560

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 38  
 
p.methanawingmai
วันที่ 16 มี.ค. 2560

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 39  
 
jugjun
วันที่ 5 พ.ย. 2560

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 40  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 41  
 
lokiya
วันที่ 13 ก.ค. 2564

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 42  
 
Sea
วันที่ 6 มี.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ