อินเดีย ...อีกแล้ว35

 
kanchana.c
วันที่  29 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14903
อ่าน  3,220

เนินป่ามะม่วงคัณฑัมพะ

เนินป่ามะม่วงคัณฑัมพะ สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์นั้นอยู่ใกล้ๆ โรงแรม Pawan

Palace มีบางกลุ่มเดินไปชมตั้งแต่เช้า มองจากโรงแรมก็เห็นเนินสูงริมถนนนั้นได้ ใช้

เวลาเดินไม่เกิน ๑๕ นาที

การแสดงยมกปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคนั้นจะต้องแสดงทุกพระองค์ และแสดง ณ

สถานที่เดียวกันนี้ คือ ในกรุงสาวัตถี ในวันเพ็ญ เดือน ๘ เมื่อทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์

แล้วก็จะเสด็จไปสู่ดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา

เหตุที่ทำให้ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์นั้น เนื่องมาจากเศรษฐีกรุงราชคฤห์ท่านหนึ่งได้

ไม้จันทน์แดงมาทำบาตร แล้วท่านไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ สมัยนั้นมีผู้อ้างตน

เป็นพระอรหันต์มากมาย ท่านไม่รู้จักพระอรหันต์ เมื่อได้บาตรไม้จันทน์แดงแล้วจึงใส่

สาแหรกห้อยไว้ในอากาศสูงประมาณ ๖๐ ศอก โดยใช้ไม้ไผ่มาต่อๆ กัน แล้วบอกว่า “ถ้า

ว่าพระอรหันต์มีอยู่ จงมาทางอากาศแล้วถือเอาบาตรนี้”

ครูทั้ง ๖ อยากได้บาตรนี้ ออกอุบายต่างๆ แต่เศรษฐีก็ไม่ยอมให้ ในวันที่ ๗ ท่านพระ

มหาโมคคัลลานะและท่านพระปิณโฑลภารทวาชะตั้งใจจะออกไปบิณฑบาต ได้ยินชาว

เมืองพูดกันว่า “๗ วันแล้ว ไม่มีใครเหาะไปเอาบาตรไม้จันทน์ได้ แสดงว่าพระอรหันต์ไม่

มีในโลก” ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะจึงแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปเอาบาตรไม้

จันทน์ให้ชาวเมืองราชคฤห์เห็น เมื่อชาวป่าบ้าง คนอยู่ในบ้านบ้างไม่เห็นปาฏิหาริย์ จึง

ติดตามพระเถระไปอ้อนวอนให้แสดงอีกด้วยเสียงอื้ออึงเข้าไปสู่พระเวฬุวัน เมื่อพระผู้มี

พระภาคทรงทราบความแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุทำปาฏิหาริย์

ฝ่ายพวกเดียรถีย์ได้ทราบว่าทรงบัญญัติห้ามภิกษุทำปาฏิหาริย์แล้ว คิดว่าพระผู้มีพระ

ภาคไม่ทรงทำปาฏิหาริย์เช่นกัน เห็นช่องทางจะโอ่อวดตัวเองว่ามีอิทธิปาฏิหาริย์ จึง

คุยว่าจะทำปาฏิหาริย์แข่งกับพระผู้มีพระภาค

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว เข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระผู้มี

พระภาคทรงตอบว่าจะทรงแสดงปาฏิหาริย์กับพวกเดียรถีย์ เพราะทรงบัญญัติสิกขาบท

ไว้สำหรับสาวกทั้งหลาย มิใช่เพื่อพระศาสดา แล้วทรงกำหนดว่า หลังจากนี้ ๔ เดือน

ในวันเพ็ญ เดือน ๘ จะทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ที่เมืองสาวัตถี เพราะเป็นสถานที่ที่ทำ

มหาปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ และที่ไปไกลนั้น เพื่อประโยชน์จะให้

มหาชนประชุมกัน

พวกเดียรถีย์ติดตามพระองค์ไป เมื่อได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจะทรงทำปาฏิหาริย์ที่

ควงไม้มะม่วง จึงบอกให้อุปัฏฐากของตนถอนต้นมะม่วงเล็กๆ ในบริเวณ ๑ โยชน์ นั้นให้

หมด แล้วนำไปทิ้งในป่า

ในวันเพ็ญ เดือน ๘ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่พระนครสาวัตถี นายคัณฑะ ผู้รักษา

สวนมะม่วงของพระราชา เก็บมะม่วงสุกผลใหญ่ผลหนึ่งตั้งใจจะถวายพระราชา แต่เมื่อ

เห็นพระผู้มีพระภาคจึงคิดว่า “การถวายพระราชา จะได้ค่าตอบแทนเป็นเงิน ๘

กหาปนะบ้าง ๑๖ กหาปนะบ้าง แต่ถ้าถวายพระศาสดา จะเป็นคุณนำประโยชน์เกื้อกูล

ตลอดกาล ไม่มีสิ้นสุด” เขาน้อมถวายผลมะม่วงนั้นแด่พระศาสดา เมื่อท่านพระอานนท์

ขยำมะม่วงสุกผลนั้นทำเป็นน้ำปานะถวาย พระศาสดาเสวยแล้ว ตรัสกับนายคัณฑะว่า

“เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นแล้ว ปลูกเมล็ดมะม่วงนี้ในที่นี้นี่แหละ” เขาก็ทำอย่างนั้นแล้ว

เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงล้างพระหัตถ์บนเมล็ดมะม่วงนั้น พอเมื่อพระหัตถ์อันพระองค์

ทรงล้างแล้วเท่านั้น ต้นมะม่วงก็ขึ้นงอกงามสูงถึง ๕๐ ศอก มีกิ่งใหญ่ ๕ กิ่ง ออกช่อและ

ผล มีผลสุกโดยรอบ เมื่อพระภิกษุมาทีหลัง ก็ได้ขบฉันผลมะม่วงสุกเหมือนกัน

เมื่อถึงเวลา บรรดาสาวกสาวิกาขออาสาทำปาฏิหาริย์แทน แต่พระผู้มีพระภาคตรัส

ห้าม เพราะญาณในยมกปาฏิหาริย์ไม่ทั่วไปในสาวก เช่น ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกาย

เบื้องบน สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องล่าง เป็นต้น

แล้วทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์พร้อมทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุธรรม ๒๐ โกฏิ เพราะเห็น

ปาฏิหาริย์ของพระศาสดาและเพราะได้ฟังธรรมกถา

แต่ก็ยังมีปาฏิหาริย์อื่นที่ทรงแสดงไว้ในปาฏิหาริย์ ๓ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็น

อัศจรรย์ ๑ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์ ๑ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็น

อัศจรรย์ ๑ ซึ่งทรงแสดงว่าอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ คือ การพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึก

อย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้า

ถึงสิ่งนี้อยู่ เป็นอัศจรรย์ยิ่ง เพราะทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตามสามารถเปลี่ยนจากปุถุชน

ผู้หนาด้วยกิเลส เป็นกัลยาณปุถุชน จนกระทั่งเป็นพระอริยบุคคล ในที่สุดเป็นพระ

อรหันต์ ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก

แม้พวกเราในสมัยนี้จะไม่ได้มีโอกาสได้เห็นยมกปาฏิหาริย์แล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสได้ฟัง

พระธรรม ซึ่งเป็นอนุสาสนียปาฏิหาริย์ ที่ทรงพระมหากรุณาแสดงไว้โดยละเอียด

สำหรับให้ศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามกำลังสติปัญญาที่สะสมมาของแต่ละคน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วิริยะ
วันที่ 29 ธ.ค. 2552

เรียนถามค่ะ

อาเทสนาปาฏิหาริย์ คือเป็นเช่นไรคะ

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คุณ
วันที่ 29 ธ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ups
วันที่ 29 ธ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
hadezz
วันที่ 29 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kanchana.c
วันที่ 29 ธ.ค. 2552

น้องวิริยะ

ขอบคุณที่สนใจค่ะ อ่านคำตอบนะคะ

จากพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ปัญญาวรรค ปาฏิหาริกถา ข้อ

๗๒๐ มีข้อความว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาเทศนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจได้ตามเหตุที่กำหนด

ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุ

นั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย

แต่เมื่อได้ฟังเสียงของมนุษย์ก็ดี ของอมนุษย์ก็ดี หรือของเทวดาก็ดี ก็ทายใจได้ว่า ใจ

ของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะ

ทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย

และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟัง

เสียงตรึกตรองของผู้กำลังตรึกตรองอยู่ ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของ

ท่านเป็นประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทาย

ใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย

หาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ และหาได้ฟังเสียง

ตรึกตรองของผู้กำลังตรึกตรองแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อกำหนดใจของผู้เข้าสมาธิอันไม่มี

วิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของตนแล้วก็รู้ได้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้อย่างใด ก็จักตรึก

ถึงวิตกชื่อโน้นในระหว่างจิตนี้อย่างนั้น ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจ

นั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอาเทศนาปาฏิหาริย์ ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 29 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 29 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คนบ้านนอก
วันที่ 4 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pondhip
วันที่ 8 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Jans
วันที่ 21 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
guy
วันที่ 25 มี.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chookasem
วันที่ 27 มี.ค. 2554
ขอบคุณ และ อนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chookasem
วันที่ 1 พ.ค. 2554

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
เซจาน้อย
วันที่ 2 พ.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
กลุ่มเสวณาธรรม
วันที่ 11 พ.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
แมวทไวไลท์
วันที่ 13 พ.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ