รู้ทั่ว...ปกติ...เดี๋ยวนี้ !

 
พุทธรักษา
วันที่  22 มิ.ย. 2552
หมายเลข  12731
อ่าน  1,455

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนธนาธรรม ที่เขาเต่า ๑-๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านอาจารย์ "จิต" เป็น "ที่สะสม" ทุกอย่าง ที่เป็น "นามธรรม" .. "นามธรรม" ที่สะสมอยู่ใน "จิต" ทุกๆ ขณะ มีทั้ง ฝ่ายดี ฝ่ายไม่ดี "วิบากจิต" ที่เกิดขึ้นแล้วเราก็ยังไม่สามารถที่จะรู้ ว่า เกิดจาก "ผลของกรรม" อะไร

คุณย่าสงวน กรรม เป็น "สภาพธรรมที่ปกปิด"

ท่านอาจารย์ ใช่ค่ะ.! ขณะที่ "กระทำกรรม" เราไม่มีทางรู้เลย ว่า จะ "ให้ผล" ในชาติไหน.! ใน "ลักษณะ" ไหน.! หมายความว่า ขณะที่ได้รับ "ผลของกรรม" ขณะนั้น "วิบากจิต" เกิดขึ้นแล้วแต่ ก็ไม่รู้ ว่า มาจาก "กรรม" อะไร รู้ แต่ เพียง ว่าถ้าเป็น "กรรมที่ดี" ก็ให้ "ผลที่ดี" ซึ่งเป็น "กุศลวิบากจิต" และถ้าเป็น "กรรมที่ไม่ดี" ก็ให้ "ผลที่ไม่ดี" ซึ่งเป็น "อกุศลวิบากจิต" บางคน บอกว่า "ฉันไม่ได้ทำกรรมอะไรเลย ทำไม ฉันจึงเป็นอย่างนี้" มีคำถามว่า ... "ทำไมถึงต้องเป็นเรา" .. "ทำไม เขา ถึงได้มาเบียดเบียน เรา" ก็ "ทำกรรมมาแล้ว" ทุกคน ไม่ใช่ "เขาทำ" แต่ เป็น "ผลของกรรม" ของเราเอง ทำไม คนอื่น เขาไม่ได้รับกระทบ อย่างเรา ทำไม "วิบากอย่างนั้น" ไม่เกิดกับเขา

ท่านผู้ฟัง ท่านถึงได้เรียกว่า "กรรมเก่า"

ท่านอาจารย์ "กรรมเก่า"คือ กรรม ที่ได้กระทำแล้ว "กรรมใหม่" คือ กรรม ที่กำลังทำ

ท่านผู้ฟัง "กรรมเก่า" มาเป็น "วิบาก"

ท่านอาจารย์ "กรรมเก่า" เป็น "ปัจจัย" ให้เกิด "วิบาก" .. "วิบาก" ก็คือ "จิต" .. "จิต" ที่เป็น "วิบาก" ก็มี "จิต" ที่เป็น "กุศล" ก็มี "จิต" ที่เป็น "อกุศล" ก็มี "จิต" ที่เป็น "กิริยา" ก็มี ขณะที่ได้รับ "ผลของกรรม" ต้องมี "ปัจจัย" มี ๕ ทางสำหรับ "รับผลของกรรม" คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
แสดงให้เห็น ว่า ไม่พ้น จาก กรรม ไม่พ้น จาก กิเลส เพราะว่า ถ้า ไม่มี กิเลส กรรม ก็ ไม่มี วนเวียนอยู่อย่างนี้ ... ไม่จบ.!

เคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง ก็ไม่มีทางรู้ได้ แม้ขณะนี้ ก็เหมือนกัน เพราะว่า ต่อไปข้างหน้า ก็ไม่ใช่บุคคลนี้ อีกต่อไปแล้ว เป็นเพียง จิต เจตสิก รูปที่เกิด-ดับ สืบต่อ "ไม่มีวันจบ" จนกว่า จะถึง "จุติจิต ของพระอรหันต์" ต้อง ค่อยๆ "เข้าใจ" เป็น "ปัจจัย" ทำให้ "สติ" ค่อยๆ เกิดจนกว่า จะ "รู้จริงๆ " และ ต้อง "รู้ทั่ว" เพราะฉะนั้น จึงได้บอกว่า ต้อง "รู้ทั่ว" ต้อง "ปกติ" ต้อง "เดี๋ยวนี้" เพราะว่า "สภาพธรรม" เดี๋ยวนี้ เกิดแล้ว เพราะ เหตุ-ปัจจัย



ขอความกรุณา ขยายความ คำว่า "ต้องรู้ทั่ว"

ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนา ค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 23 มิ.ย. 2552

คำว่า "ต้องรู้ทั่ว" หมายถึง รู้ทั่วทุกทวาร ทุกอารมณ์ที่ปรากฏ ไม่เจาะจง หรือ เลือกเพียงทวารใดทวารหนึ่ง อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเท่านั้น แต่ สิ่งใดปรากฏก็ควรรู้ควรศึกษาสิ่งนั้น ไม่เว้น ไม่เลือก

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ใจรวยริน
วันที่ 23 มิ.ย. 2552

ต้องรู้ทั่ว ถ้าไปหารู้ให้ทั่ว ก็ไม่มีทางรู้ทั่ว

ต้องปกติ ถ้าทำให้เป็นปกติ ก็ไม่เป็นปกติ

ต้องเดี๋ยวนี้ พอเจอเดี๋ยวนี้ ก็ผ่านไปแล้ว

เป็นตัวเราทั้งนั้นที่หา ที่ทำ ที่เจอเป็นเราเพราะเรารักตัว ทำเพราะรัก และอยากให้คนอื่นรักเหมือนที่ตัวรักแต่ไม่รู้ตัวว่ากำลังทำเป็นกิเลสเราที่หา และกิเลสก็เจอกับกิเลสเอากิเลสไปดับกิเลสไม่มีทางรู้ทั่ว

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 23 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

ขณะที่ได้รับ "ผลของกรรม" ต้องมี "ปัจจัย" มี ๕ ทางสำหรับ "รับผลของกรรม" คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ขออนุญาตเรียนถามว่า ทางใจนี้มีวิบากด้วยหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บัณฑิตทึ่ม
วันที่ 23 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 23 มิ.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ปริศนา
วันที่ 24 มิ.ย. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12731 ความคิดเห็นที่ 3 โดย จักรกฤษณ์

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

ข้อความบางตอน ... จาก กระทู้นี้

ท่านอาจารย์ ถ้า เข้าใจ "ตัวจริง" แล้วค่อยตามด้วย "ชื่อ" อย่างนี้ จะไม่งง เพราะว่า ถ้า พูดชื่อ คือ "ชื่อ" มาก่อน แต่ก็ไม่รู้ ว่า หมายความว่าอย่างไร ก็จะงง แต่ถ้าเรา "เข้าใจ" เสียก่อน อย่างนี้ แล้วค่อย ใช้ "ชื่อ" อย่างเช่น "ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ประเภท" นี้ ถ้าเป็น "จักขุวิญญาณจิต" มี ๒ ประเภท คือ เห็น สิ่งที่ดีเป็น "กุศลวิบากจิต" และเห็น สิ่งที่ไม่ดีเป็น "อกุศลวิบากจิต" เป็นต้น ทางตา สองประเภท คือ กุศลวิบากจิต และ อกุศลวิบากจิต ทางหู สอง ทางจมูก สอง ทางลิ้น สอง ทางกาย สอง ก็โดยนัยเดียวกัน รวม เป็น "จิต ๑๐ ประเภท" ซึ่งจิต ๑๐ ประเภท นี้คือ "ผลของกรรม" และจิต ๑๐ ประเภท นี้ไม่มี โลภะ และ โทสะ เกิดร่วมด้วย เลย หมายความว่าไม่มี "เหตุ" คือ กุศลธรรม และ อกุศลธรรม เกิดร่วมด้วย จึงเป็น "อเหตุกจิต" คือ จิต ที่ไม่มี "เหตุ" เกิดร่วมด้วย นั่นเอง

ขออนุญาต อธิบาย เท่าที่เข้าใจ ลองพิจารณาดูนะคะ เข้าใจว่า สำหรับ "ปุถุชน" และ พระเสกขบุคคล" นั้น ขณะที่ "คิดนึก" ทางใจ ต้องเป็น "เหตุ" (คือ จิต ชาติกุศล จิต ชาติอกุศล หรือ จิต ชาติกิริยา เท่านั้น)

ส่วน พระอรหันต์ ซึ่ง "คิดนึก" ทางใจ มีแต่ ต้องเป็น "จิตชาติกิริยา" เท่านั้น เพราะว่า พระอรหันต์ ท่านดับ "เหตุ" ที่จะเป็น "ปัจจัยในการเกิด" ได้แล้วเป็นสมุจเฉท วิบาก ซึ่ง เป็น "จิตที่เป็นผลของกรรม" หรือ "จิตชาติวิบาก" นั้นไม่ใช่ จิตชาติกุศล ไม่ใช่ จิตชาติอกุศล ไม่ใช่ จิตชาติกิริยา ท่านจึงจำแนก "จิต" เป็น ๔ ชาติ โดยกิจ คือ เป็นเหตุ ได้แก่ กุศลจิต และ อกุศลจิต เป็นผล คือ วิบากจิต และ ไม่เป็นทั้งเหตุ - ไม่เป็นทั้งผล คือ กิริยาจิต จึงมีข้อความที่ว่า พระอรหันต์ มีแต่จิตชาติวิบาก และ กิริยา เท่านั้น ส่วน ปุถุชน และ พระอเสกขบุคคล ยังมีจิต ครบทั้ง ๔ ชาติ และข้อความที่ว่า หลังจาก "ได้รับผลของกรรม" ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย (ทางปัญจทวาร) "จิต (ทางมโนทวาร) คิดเป็นกุศล หรือ คิดเป็นอกุศล ก็ได้" กุศลจิต และ อกุศลจิตเป็น "เหตุ" ที่เป็นปัจจัยให้เกิด "ผล" ได้
ตามกำลังของจิตนั้นๆ ส่วนวิบากจิต และ กิริยาจิต ไม่ใช่ "เหตุ" เกิดขึ้น ทำ "กิจของตนๆ " แล้วดับไป เท่านั้น

ขออนุญาต อธิบาย เท่าที่ เข้าใจ เพียงเท่านี้ ค่ะ (ยังไม่ใช่คำตอบนะคะ) และหากมีส่วนใดคลาดเคลื่อน ไม่ตรง ขอความกรุณาท่านอื่น ช่วยตรวจทาน แก้ไข แนะนำ ด้วยจักขอบพระคุณอย่างสูง

ขอนุโมทนาค่ะ

ปล. แต่ อารมณ์ ที่รู้ได้ทางใจ เท่านั้น เช่น ธาตุน้ำ เป็นต้น ยังไม่เข้าใจ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 28 มิ.ย. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12731 ความคิดเห็นที่ 3 โดย จักรกฤษณ์

ตามที่ได้สนทนากับสหายธรรม วิบากจิตที่เกิดทางมโนทวารนั้น มีทั้งจิตที่ขึ้นสู่วิถี คือ ตทาลัมพนวิถีจิต (เกิดในมโนทวารได้ด้วย) และจิตที่ไม่ขึ้นสู่วิถี คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และ จุติจิต

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
aiatien
วันที่ 28 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
suwit02
วันที่ 1 ก.ค. 2552

ตามที่ผมได้โพสท์ความเห็นที่ 7 นั้น วันนี้ ผมได้ฟังวิทยุออนไลน์ปกิณณกธรรม (แผ่นที่ 3) ตอนที่ 133 ต่อกับ ตอนที่ 134 ว่าปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และ จุติจิต นั้น เป็น (ฉทวาริกวินิมุตตจิต หรือย่อว่า) ทวารวิมุตตจิต


ดังนั้น ผมจึงเห็นว่าแม้ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และ จุติจิต จะเป็นวิบากจิต แต่ก็ไม่ใช่วิบากที่เกิดทางมโนทวารจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
papon
วันที่ 29 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ