อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ของพระอรหันต์

 
WS202398
วันที่  18 มี.ค. 2552
หมายเลข  11651
อ่าน  2,383

อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ของพระอรหันต์ เหตุใดจึงเป็น อัพยากตเหตุ

พระอรหันต์มีเจตนาเจตสิกหรือไม่

หากมีเมื่อมีเจตนาไม่เป็นเหตุหรือ

ด้วยอำนาจอะไรจึงทำให้ไม่เป็นเหตุ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 18 มี.ค. 2552
จิตเจตสิกของพระอรหันต์ไม่ใช่กุศลจิต และไม่ใช่อกุศลจิต จึงเป็นอัพยากต

อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ของท่านก็เป็นอัพยากตเหตุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 19 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระอรหันต์ เป็นบุคคลผู้ห่างไกลจากกิเลส เป็นผู้ดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด ไม่มีกิเลสเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่อีกเลย พระอรหันต์ ไม่มีกุศลจิต ไม่มีอกุศลจิต แต่ยังมีจิตชาติอื่นๆ คือ ยังมีจิตชาติวิบาก ท่านยังต้องเห็น ยังได้ยิน ยังได้กลิ่น ยังลิ้มรส ยังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย (จนกว่าท่านจะดับขันธปรินิพพาน) แต่ไม่เป็นปัจจัยให้กิเลสเกิดขึ้นอีก เพราะท่านดับกิเลสได้หมดแล้ว และอีกประการหนึ่งพระอรหันต์มีจิตชาติกิริยา โดยปกติผู้ที่มิใช่พระอรหันต์ จะมีจิตชาติกิริยาเพียง ๒ประเภท คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต กับ มโนทวาราวัชชนจิต เท่านั้น แต่สำหรับพระอรหันต์มีมากกว่านั้น เช่น ขณะที่พระอรหันต์แสดงพระธรรมเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ขณะนั้น เป็นมหากิริยาจิต (ไม่ใช่กุศลจิต) เป็นต้น เจตนาเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกประเภท ไม่มีเว้นเลยแม้แต่ขณะเดียวแต่สำหรับพระอรหันต์ ท่านมีเจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตชาติวิบาก และชาติกิริยา เท่านั้น ไม่มีเจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับกุศลจิต และอกุศลจิต เพราะท่านไม่มีทั้งอกุศล-จิต และไม่มีทั้งกุศลจิต สำหรับสภาพธรรมที่เป็นเหตุเจตสิก สำหรับพระอรหันต์ มีเพียง ๓ ประเภท คือ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก และ อโมหะ คือ ปัญญาเจตสิก ซึ่งเป็นอัพยากตเหตุ เท่านั้น ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 19 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔-หน้าที่ 500 เรื่องพระเรวตเถระ [๒๙๒]

พระขีณาสพไม่มีบุญและบาป

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อนี้ " จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายบุญย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา,บาปก็มิได้มี;บุญบาปทั้งสองเธอละเสียแล้ว" ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-

" ผู้ใดล่วงบุญและบาปทั้งสอง และกิเลสเครื่อง

ข้องเสียได้ในโลกนี้, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความโศก

มีธุลีไปปราศแล้ว ผู้บริสุทธิ์แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์."


อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
WS202398
วันที่ 20 มี.ค. 2552

" ผู้ใดล่วงบุญและบาปทั้งสอง และกิเลสเครื่อง

ข้องเสียได้ในโลกนี้, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความโศก

มีธุลีไปปราศแล้ว ผู้บริสุทธิ์แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์."

โทษของบุญคืออะไร ในเมื่อ บุญเป็นชื่อของความสุข ละแต่บาปไม่ได้หรือครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 20 มี.ค. 2552
โทษของบุญก็คือทำให้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ และบุญก็ไม่เที่ยง..
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
WS202398
วันที่ 23 มี.ค. 2552

บุญ มีส่วนสัมพันธ์กับการรู้แจ้งอริยสัจธรรมอย่างไร หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 23 มี.ค. 2552
ในพระสูตรกล่าวถึง พระขีณาสพหรือพระอรหันต์ ผู้ละได้ทั้งบุญและบาป เพราะเห็นแจ้งในความจริงของสิ่งทั้งปวงว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ผู้ที่ยังไม่ถึงความเป็นพระอรหันต์ ย่อมยากที่จะเห็นโทษภัยของสังขารธรรมทั้งหลายเป็นธรรมดาหนทางเดียวคือต้องค่อยๆ อบรมเจริญปัญญาต่อไปครับ

บุญที่เป็นไปในวัฏฏะมีมาก อยู่คู่สังสารวัฏฏ์มายาวนาน แต่บุญที่จะเป็นไปเพื่อการออกจากวัฏฏะ มีแต่ในพระธรรมที่ทรงแสดงโดยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ซึ่งเป็นบุญที่ประกอบด้วยความรู้ถูก ความเข้าใจถูก ตามความเป็นจริง เป็นอริย-สัจจธรรม จึงเป็นบุญ เป็นกุศลที่เป็นไปเพื่อการละทั้งหมด ไม่ใช่เพื่อการได้หรือการติด แต่ว่า บาปหรืออกุศลธรรมนั้นก็มีมาก ไม่ใช่เรื่องที่จะละคราวเดียว ชาติเดียวสำเร็จ บาปที่ติดข้องยินดีพอใจในบุญและผลของบุญที่เป็นสุข ก็มี บาปที่เห็นผิดว่าบุญนั้นเป็นเรา เป็นตัวตน เป็นอัตตา ก็มี บาปอกุศลที่ปกปิดไม่ให้รู้ความจริงของบุญว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็มี เพราะฉะนั้น เรื่องของการละนั้น ไม่ง่ายเลย จะเพียงอาศัยบุญที่เป็นไปวัฏฏะ ก็ไม่สามารถที่จะละบาปได้ ต้องอาศัย การอบรมเจริญบุญหรือกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา จากการฟังพระธรรม และศึกษาพระธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถรู้ชัดประจักษ์แจ้งแทงตลอดอริยสัจจธรรมได้ จนเมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ ปัญญาก็จะสามารถดับได้ทั้งบุญและบาป และจะมีความเห็นถูกต้องว่า การเกิดขึ้นทั้งมวลนั้นเป็นทุกข์ การเกิดอีก ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของบุญหรือผลของบุญก็ตาม ล้วนเป็นโทษภัยของสังสารวัฏฏ์ เพราะบุญจะให้ผลเป็นสุขนานแค่ไหน ก็ล้วนไม่เที่ยง การไม่เกิดอีกเลยเท่านั้น จึงจะเป็นความสุขอย่างแท้จริงครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
WS202398
วันที่ 24 มี.ค. 2552

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ ชัดและตรงทีเดียว

อยากทราบเพิ่มเติมครับว่า มีอธิบายทางปริยัติหรือไม่ว่า จิตที่ละได้ทั้งบุญและบาปนั้น โดยปรมัตถ์แล้วต่างจาก จิตของคนที่ยังไม่สามารถละบุญและบาปตรงไหน กล่าวโดยเฉพาะคือจิตพระอรหันต์ที่เป็นกิริยา หรือ หรือธาตุที่ไม่เป็นเหตุบาปหรือเหตุบุญนั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ปัจจัยใด จิตถึงเปลี่ยนคุณภาพไม่ก่อกรรม เกี่ยวกับเจตสิกใดหรือไม่ เกี่ยวพันธ์กับสังขารขันธ์นัยใด จิตก่อนละได้กับหลังละได้ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 25 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 25 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากความเห็นที่ 8 จิตที่ละได้ทั้งบุญและบาปนั้น โดยปรมัตถ์แล้วต่างจาก จิตของคนที่ยังไม่สามารถละบุญและบาปตรงไหน? จิตของผู้ที่ละบุญแบปได้แล้ว ไม่มีอนุสัยกิเลสอันเป็นเหตุให้กิเลสเกิดขึ้นอีก ส่วนจิตของผู้ที่ยังมีกิเลส ยังมีอนุสัยกิเลสที่ยังละไม่ได้ในกิเลสที่ยังไมได้ละครับ กล่าวโดยเฉพาะคือจิตพระอรหันต์ที่เป็นกิริยา หรือ หรือธาตุที่ไม่เป็นเหตุบาปหรือ

เหตุบุญนั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? เกิดเพราะสามารถดับกิเลสได้หมด จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดจิตที่เป็นกิริยาจิตครับ ปัจจัยใด จิตถึงเปลี่ยนคุณภาพไม่ก่อกรรม เกี่ยวกับเจตสิกใดหรือไม่ เกี่ยวพันธ์กับสังขารขันธ์นัยใด? ปัญญาเจตสิกและเจตสิกฝ่ายดีเกิดขึ้นร่วมกันจนสมารถดับกิเลสได้จึงเป็นปัจจัยให้จิตที่เกิดขึ้นไม่เป็นเหตุให้ก่อกรรมอีกครับ จิตก่อนละได้กับหลังละได้ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ต่างกันที่มีอนุสัยกิเลสและไม่มีอนุสัยกิเลสครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
สุภาพร
วันที่ 31 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khan
วันที่ 14 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ