อานาปานสติ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10629
อ่าน  6,155

อาน (ลมหายใจออก) +อปาน (ลมหายใจเข้า) +สติ (การระลึก)

สติที่มีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ หมายถึง กรรมฐาน (ที่ตั้งแห่งการงานทางใจ) อย่างหนึ่งซึ่งเป็นได้ทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

อานาปานสติที่เป็นสมถภาวนา มีลมหายใจที่เป็นบัญญติเป็นอารมณ์ ผู้ที่อบรมอานาปานสติสมาธิจะต้องมีปัญญามาก จะต้องรู้ความต่างกันของกุศลจิตและอกุศจิต ต้องรู้ว่าจะพิจารณาอย่างไรจิตจึงจะค่อยๆ สงบจากอกุศลยิ่งขึ้นจากขณิกสมาธิค่อยๆ สงบขึ้นจนเป็นอุปจารสมาธิจะต้อง รู้จักองค์ฌาน คือ รู้ลักษณะของวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา จึงสามารถประคองจิตให้ตั้งมั่นในอารมณ์ จนเป็นอัปปนาสมาธิ และต้องมีปัญญาเห็นโทษขององค์ฌานต้นๆ และค่อยๆ ละองค์ฌานที่ละองค์โดยการไม่ใสใจ จึงสามารถอบรมจิตให้สงบเป็นฌานจิตขั้นสูงยิ่งขึ้

อานาปานสตินี้เป็นอารมณ์ที่ละเอียดสุขุม จึงเป็นอารมณ์ของผู้ที่มีสติไม่หลงลืม เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ คือ อาจหรือสามารถบรรลุมรรคผลได้ในชาตินั้นสำหรับ อานาปานสติที่เป็นวิปัสสนาภาวนา มีลมหายใจซึ่งเป็นปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ในมหาสติปัฏฐานสูตร ทรงแสดงอานาปานบรรพในหมวดกายานุปัสสนา เพราะลมหายใจเป็นส่วนหนึ่งของกาย เป็นสภาพที่ปรุงแต่งกาย และเคยยึดถือว่าเป็นลมหายใจของเรา เป็นเราหายใจ

แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ หรือธาตุลม ซึ่งกระทบที่กาย อาจจะเป็นลักษณะที่อ่อนนุ่ม หรืออบอุ่น หรือเคลื่อนไหว ซึ่งปรากฏที่ช่องจมูกหรือริมฝีปาก เพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่ง และเริ่มรู้คือค่อยๆ เข้าใจว่า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะอย่างนั้นเอง คือ เป็นธาตุที่ไม่รู้อารมณ์เป็นการถ่ายถอนความเข้าใจผิดที่เคยยึดถือว่าเป็นเราที่หายใจ หรือเป็นลมหายใจของเรา และขณะที่สติเกิดนั้น ไม่ได้สนใจว่าลมหายใจจะกระทบที่ใด เพียงรู้ว่ามีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเท่านั้น สติที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยจากการฟังจนเข้าใจ ไม่มีการเตรียมตัวจดจ้องหรือต้องการให้มีสติมาก่อน จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว

ถ้ามีความเห็นถูกมีความเข้าใจที่ถูกต้อง สติปัฏฐานก็จะโคจรไปในอารมณ์ต่างๆ ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้างจนทั่ว ไม่ใช่จดจ้องอยู่ที่ลมหายใจที่ปรากฏทางกายอย่างเดียว จึงจะค่อยๆ ซึมซาบความเป็นอนัตตา และเข้าใจเห็นชัดในสภาพธรรมตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น จนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณ ตามลำดับขั้น จนบรรลุมรรคผลในที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลานานไม่ใช่เพียงภพเดียวชาติเดียว จึงควรอบรมปัญญาจากการฟัง การพิจารณาไปโดยที่ไม่หวัง เพราะความหวังเป็นเครื่องเนิ่นช้า (ปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ) เป็นเครื่องถ่วงความเจริญของปัญญา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 10 ธ.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Nongnuch
วันที่ 19 พ.ย. 2553

Anumotana ka.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
phawinee
วันที่ 13 ก.พ. 2556

อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
boonpoj
วันที่ 13 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จิตโอภาส
วันที่ 26 เม.ย. 2561

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 23 พ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 29 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
worrasak
วันที่ 17 ม.ค. 2565

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เสริฐ
วันที่ 14 มิ.ย. 2565

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Wisaka
วันที่ 13 ก.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ