สมุดเงินฝากธนาคารของพระกับข้อห้ามทางวินัย.

 
suthon
วันที่  15 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4010
อ่าน  9,282

อยากเรียนถามว่าถ้าพระบางรูป ท่านมีสมุดเงินฝากส่วนตัวของท่าน ที่มีจำนวนเงินที่ญาติโยมถวายบริจาคบางส่วน ท่านต้องอาบัติไหม แม้จะมีเหตุผลว่าได้นำเงินจำนวนนี้มาใช้อย่างมีสาระ เช่น เป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าเล่าเรียน เพราะจะรอศรัทธาญาติโยมมาช่วยตลอดเวลาก็ไม่ได้ แต่ถ้าเงินส่วนนี้ มาจากรายได้ที่ท่านมีก่อนจะมาบวช ก็ไม่อาบัติใช่ไหมครับ ช่วยแนะนำด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 16 มิ.ย. 2550

จุดมุ่งหมายของการบวช เพื่อขัดเกลากิเลส ถ้าศึกษาพระวินัยไม่ละเอียดมีโทษมาก ก่อนจะบวชก็ต้องสละทรัพย์สินเงินทองก่อนค่ะ และตอนบวชแล้ว จะมีสมุดเงินฝากส่วนตัว หรือไว้ใช้เพื่อตนก็เป็นอาบัติค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 17 มิ.ย. 2550

ผู้ที่เป็นพระภิกษุ ได้สมัญญาว่า เป็นสมณะ เป็นบรรพชิต เป็นนักบวชในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้ที่เป็นนักบวชมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ท่านมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนคฤหัสถ์คือ เว้นจากการงานของคฤหัสถ์ทั้งหมด การเกี่ยวข้องกับเงินทองเป็นกิจของคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม บรรพชิตท่านไม่เกี่ยวข้องกับเงินทอง เพราะเงินทองเป็นเครื่องเศร้าหมองของบรรพชิต

ฉะนั้น ตามพระวินัยถ้าพระภิกษุเกี่ยวข้องกับเงินทองจึงมีโทษ เป็นอาบัติ ทั้งรับเอง ใช้ให้ผู้อื่นรับ รับเพื่อผู้อื่น เป็นอาบัติทั้งสิ้น

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่

ทองและเงิน ไม่ควรแก่สมณศากยบุตร [มณิจูฬกสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 17 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อิสระ
วันที่ 17 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Tawin
วันที่ 17 มิ.ย. 2550

นี่ก็หมายความว่า พระภิกษุจะมีเงินส่วนตัวหรือเงินฝากในบัญชีไม่ได้เลยหรือ ถ้าเช่นนั้น ถ้าพระภิกษุรูปนั้นจำเป็นต้องซื้อของใช้ หรือของจำเป็น หรือจ่ายค่ารถ ค่าเดินทาง จะทำอย่างไรหรือ ขอใครก็ได้ช่วยตอบตามความเป็นจริงนะครับ ชีวิตของพระที่อยู่ในปัจจุบันนั้นท่านทำตนกันอย่างไร ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wirat.k
วันที่ 18 มิ.ย. 2550

เมื่อปวารณาตัวจะดำเนินรอยตามพระพุทธเจ้า โดยบวชเป็นบรรพชิต ก็ต้องถือปฏิบัติตามกติกา คือพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ครับ หากศึกษาก็จะทราบว่าบรรพชิต (นักบวช) แตกต่างจากคฤหัสถ์ (ชาวบ้านผู้ครองเรือน) อย่างสิ้นเชิง ถ้ายังติดข้องในกิจอันเป็นของผู้บริโภคกาม ก็ต้องทราบอัธยาศัยของตนเองว่าจริงๆ แล้ว ต้องการเป็นผู้ที่จะสละอาคารบ้านเรือน วงศาคณาญาติ ทรัพย์สมบัติ การติดข้องในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสจริงหรือไม่

ถ้าใช่ ก็สมัครใจบวช คือ ปฏิบัติตามกติกาที่ทรงวางไว้ ถ้าไม่ใช่ ก็เป็นผู้ครองเรือนศึกษา และประพฤติธรรมตามแบบของผู้ครองเรือนก็ได้ครับ

ดังนั้น ก่อนจะบวชตามรอยพระพุทธเจ้า ก็ควรจะต้องศึกษาก่อนว่า พระวินัย (กติกา) เป็นอย่างไร จะประพฤติปฏิบัติตามได้หรือไม่ ซึ่งไม่มีการบังคับ หากพิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะแก่ตน ก็ไม่ควรบวช และถ้าบวชแล้วทำผิดพระวินัยมีโทษมาก และตนเองต้องเป็นผู้ได้รับ

สำหรับประเด็นที่ว่าตามชีวิตจริง ก็คืออย่างนี้ เป็นนักบวช เพื่อศึกษาพระธรรมและประพฤติปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่มีกิจอื่น กิจอื่นไม่ใช่ธุระที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทอง เมื่อบวชแล้วก็ต้องตัดกิจธุระอันเป็นของชาวบ้านออกให้หมด สิ่งของที่จำเป็นตามพระวินัยในปัจจุบันก็มีเพียงพอครับ และ มีช่องทางให้ขอสิ่งที่จำเป็นกับญาติหรือผู้ปวารณาได้ เพราะการเป็นนักบวชไม่ใช่เรื่องง่าย ท่านจึงสรรเสริญคุณไว้มาก และ นักบวชจึงได้รับสักการะกราบไหว้บูชาจากชาวบ้านเป็นอันมาก

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
olive
วันที่ 18 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 13 มี.ค. 2551

๑. มีพระรูปหนึ่งทำผ้าป่าช่วยชาติ ฆราวาสโอนเงินเข้าบัญชีเช่นนี้ ก็อาบัติใช่มั้ยครับ?

๒. ท่านรู้ว่าผิดทำไมถึงทำ และท่านทำทำไมยังมีคนเลื่อมใสกันมากอยู่?

๓. การที่พระท่านบอกว่าญาติคนนั้น คนนี้แล้วมีคนอนุโมทนากันทั้งศาลา เช่นนี้ คนที่อนุโมทนาก็บาปใช่มั้ย พอดีผมเปิดช่อง FM 103.25 ฟังดู ฟังทีไร ก็ขัดๆ ยังไงชอบกลและยิ่งได้ยินเสียงอนุโมทนาก็ยิ่งขัดมากขึ้น แสดงว่าคนไม่รู้ธรรมก็มีเป็นอันมากครับ

๔. การที่ลูกศิษย์กล่าวตั้งว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ก็แสดงว่าเป็นการอวดอุตริมนุษยธรรมใช่หรือไม่

๕. สรุปการกระทำของท่านควรยกย่องหรือไม่

ขอความเห็นทุกท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
bom8813
วันที่ 7 ก.ย. 2552

พระวินัยบัญญัติเช่นไรก็ปฏิบัติเช่นนั้น ตรงๆ ใสๆ ซื่อๆ ถ้าสงสัยข้อใด และถามใครยังไม่ได้ก็ปฏิบัติขั้นอุกฤษฏ์ไว้ก่อนครับ จะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลัง

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
prachern.s
วันที่ 7 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาความเห็นที่ 10 ครับ

ถ้ายังไม่แน่ใจหรือสงสัยข้อใด ก็ปฏิบัติขั้นอุกฤษฏ์ไว้ก่อน จะได้ไม่เป็นผู้ต้องเสียใจและเดือดร้อนในภายหลัง ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
suwit02
วันที่ 7 ก.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
nopwong
วันที่ 19 ก.ย. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 7 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ