พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 33


    ตอนที่ ๓๓

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖


    ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังน้อมไป โน้มไปที่จะเข้าใจความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ไม่ใช่มีเราไปน้อมไปโน้มตอนหนึ่งตอนใด แต่ทั้งหมดจะเป็นเวลานานสักเท่าไหร่ก็ตาม จะกี่ชาติก็ตาม ก็คือความจริงที่กำลังน้อมไปสำหรับผู้ที่ฟังธรรม เมื่อปัญจทวาราวัชชนะจิตดับไปแล้ว ถ้าเป็นทางตาจิตอะไรเกิด จักขุวิญญาณ มีกี่ดวง ๒ เป็นกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ ที่ตัวทั้งนั้นเลย ไม่ใช่ใครทำให้เลย กรรมของแต่ละคนที่ได้กระทำแล้วเท่านั้นที่จะเป็นปัจจัยทำให้จิตกับเจตสิกเกิดได้ ใครก็ทำให้จิตกับเจตสิกเกิดไม่ได้เลยนอกจากสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น ในขณะนี้กำลังเห็น เป็นวิบากประเภทใด

    อ.ธิดารัตน์ ถ้าตามการศึกษาก็มี ๒ ประเภท คือเป็นผลของกุศลกรรม หรือเป็นผลของอกุศลกรรม

    ผู้ฟัง ถ้าจะประมาณว่าขณะนี้เราก็เห็นแต่สิ่งที่ดีๆ น่าจะเป็นผลของกุศลวิบาก ได้ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ ประมาณ แต่จะจริง หรือไม่จริง เราจะรู้ได้อย่างไร ต้องเป็นปัญญาของเราเอง ถ้ารู้ตามคนอื่นก็กล่าวกันว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่น่าพอใจก็กล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นกุศลวิบาก แต่ในทางกลับกัน เพราะเหตุว่าเราไม่สามารถที่จะรู้ได้ จะอย่างไรๆ ก็รู้ไม่ได้ จะสีแดง สีเขียว สีฟ้า สีขาว สีใดเป็นที่น่าพอใจ สีใดไม่เป็นที่น่าพอใจ ใครจะเป็นผู้ที่ตัดสินได้ เมื่อไม่สามารถ ข้อสำคัญก็คือ เรากล่าวได้ว่าขณะใดเป็นกาลของกุศลกรรมที่จะให้ผล จักขุวิญญาณกุศลวิบากจึงเกิดขึ้นเห็น และสิ่งนั้นคือสิ่งที่ถูกเห็นนั้นเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณกุศลวิบาก ถ้ากล่าวอย่างนี้ไม่มีทางผิดเลย เพราะใครก็ไม่สามารถจะกล่าวได้ชี้ได้ เพราะว่าเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก จักขุวิญญาณที่เกิดขึ้น ๑ ขณะ เพียง ๑ ขณะจริงๆ แล้วจะบอกได้อย่างไรว่า สิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นกุศลวิบาก หรือเป็นอกุศลวิบาก เพราะฉะนั้น ก็กล่าวเท่าที่ปัญญาจะสามารถเข้าใจได้ แล้วก็ตัดปัญหา จะให้ใครมาถาม ให้ใครตอบ ถ้าคนนั้นตอบ ตอบแบบไหน ตอบแบบประมาณ แบบคิด แบบฟังตามมา แต่ถ้าตอบตรงก็คือถึงกาลที่กุศลจะให้ผล เมื่อกุศลกรรมทำให้จิตเกิดต้องเป็นกุศลวิบาก เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏต้องเป็นอิฏฐารมณ์แน่ แต่ว่าสั้นแสนสั้นที่ดับไปแล้ว เพราะฉะนั้นก็คงไม่ใช่เรื่องที่เราจะมานั่งคิด นั่งถามกัน หรือมานั่งชี้แจง ทั้งวันทั้งเดือนทั้งปีทั้งชาติก็ไม่มีทางที่จะจบสิ้นได้ เพราะฉะนั้น ก็ให้เข้าใจเพียงว่า เมื่อเป็นกาลที่กุศลกรรมจะให้ผล ก็เป็นปัจจัยให้กุศลวิบากจิตเกิด ให้คิดดูถึงจิต คือ นามธรรมมีจริง แต่ต้องเกิดตามกำลังของปัจจัย ถ้ากุศลกรรมให้ผล จิตขณะนั้นจึงเป็นจักขุวิญญาณกุศลวิบาก แต่ถ้าอกุศลกรรมให้ผล จิตขณะนั้นก็เป็นจักขุวิญญาณอกุศลวิบาก ซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ หรือขณะไหนก็คงไม่มีใครถามว่า ขณะนี้เป็นรูปารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ เพราะถ้าถามก็รู้ได้ว่าคิดถึงสิ่งที่ตัวเองไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นการคิด คิดไปทั้งชาติก็ไม่ได้ประโยชน์ เพราะตอบไม่ได้เพราะว่าจิตเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว จักขุวิญญาณดับได้ หรือไม่ ตอบว่าดับ แต่ว่าขณะนี้ดับ หรือไม่ เห็น หรือไม่ว่าการที่เราจะเข้าถึงธรรมต้องแสดงให้เห็นถึงความต่างของปัญญาขั้นฟัง กับปัญญาขั้นที่สามารถจะรู้ความเกิดขึ้น และดับไป ตามที่พระอริยเจ้าทุกท่านได้ประจักษ์แจ้งจึงเป็นพระอริยบุคคล เพราะฉะนั้น ก็เป็นผู้ที่ตรงจริงๆ ที่จะรู้ว่าการฟังพระธรรมเพื่อรู้จักตัวเองว่ามีอวิชชามากเท่าไร และก็อวิชชายังมีอยู่มากเท่าใด และการฟังเป็นการฟังด้วยความเข้าใจละเอียดลึกซึ้ง ด้วยความละเอียดที่จะเห็นอวิชชาของตนเองจะค่อยๆ คลายได้อย่างไร แต่ก่อนจะดับต้องคลาย ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดถึงเรื่องคลายเลย คิดว่าอาจจะนั่งนิ่งๆ และจ้องดูอะไร แล้วก็เกิดดับ นั่นไม่ใช่ปัญญา ถ้าเป็นปัญญาต้องสามารถเข้าใจลักษณะของธรรมที่ปรากฏ แล้วปัญญาที่เข้าใจขึ้นพร้อมทั้งการประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามลำดับก็จะทำให้มีการคลายอวิชชา คือ ความไม่รู้จากสิ่งที่กำลังปรากฏได้

    อ.วิชัย สภาพธรรมที่เป็นสังขตธรรม มีการเกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นก็ต้องมีปัจจัยปรุงแต่งที่จะให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้น ที่เรียกว่า “สังขตธรรม” หมายถึงว่าเกิดแล้ว หรือสำเร็จแล้วด้วยปัจจัย ดังนั้นเมื่อจิตเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปฏิสนธิแม้ในขณะแรก ภายหลังดับไปแล้วเป็นปัจจัยแก่ภวังค์ และเราก็จะใช้คำว่าปัจจัย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงลักษณะของปัจจัยแต่ละปัจจัยแตกต่างกัน เช่น เมื่อจิตเกิดขึ้นขณะ ๑ จิตเมื่อเกิดแล้วจะปราศจากเจตสิกไม่ได้เลย ดังนั้นเจตสิกก็เป็นปัจจัยแก่จิตโดย"สหชาต" หมายถึงเป็นปัจจัยโดยการเกิดพร้อมกัน

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นก็อยากจะขอถามว่าเมื่อได้ยินคำว่า " ปัจจัย " เข้าใจว่าอย่างไร

    อ.คำปั่น " ปัจจัย " ก็คือ " ปัจจยะ " กล่าวว่าเป็นเครื่องปรุง หรือเครื่องประกอบสำหรับประกอบกับศัพท์นั้นๆ นี้คือปัจจัย

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าสิ่งที่อาศัยที่จะทำให้สภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีสิ่งที่อาศัย สภาพธรรมนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เราเอาคำในภาษาบาลีมาใช้ง่ายๆ ที่เราจะเข้าใจได้ในภาษาไทย แต่ถ้าคิดถึงธรรม จิต เจตสิก รูป คำว่าปัจจัยก็ต้องหมายความถึงสิ่งที่จิตต้องอาศัยจึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีสิ่งนั้นแล้วจิตจะเกิดขึ้นมาไม่ได้เลย จึงต้องมีปัจจัยซึ่งเป็นสภาพธรรมซึ่งเป็นที่อาศัย เพราะฉะนั้นจิตอาศัยอะไรจึงเกิดขึ้นได้ หรือเกิดขึ้นได้เอง มีทางที่จิตจะเกิดขึ้นได้เองโดยไม่อาศัยอะไร ได้ หรือไม่ ไม่ได้เลย จึงเป็น "สังขารธรรม" " สังขตธรรม " เพราะฉะนั้นจิตอาศัยอะไรจึงเกิดขึ้น อาศัยเจตสิก เพราะถ้าไม่มีเจตสิกเกิด จิตจะเกิดไม่ได้เลย ทุกครั้งที่จิตเกิดต้องมีเจตสิกเป็นที่อาศัย เป็นปัจจัย เป็นที่อาศัย อุปการะ สนับสนุนให้จิตเกิดขึ้น เจตสิกไม่มีจิตเกิดได้ หรือไม่ ก็ไม่ได้อีก เพราะฉะนั้นทั้งจิต และเจตสิกอาศัยกัน และกัน ไม่เคยแยกขาดจากกันเลย แล้วต้องเกิดพร้อมกันด้วย ไม่ใช่ว่าจิตเกิดไปก่อน แล้วเจตสิกตามมาเกิดทีหลัง หรือไม่ใช่ว่าเจตสิกเกิดไปก่อน แล้วจิตตามมาเกิดทีหลัง ไม่ได้เลย ทันทีที่จิตเกิดก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงเป็น "สหชาตปัจจัย" เกิดพร้อมกัน หรือร่วมกัน หรือด้วยกันก็ได้ แยกกันไม่ได้เลย เราเคยใช้คำในภาษาไทยว่า สหชาติ แล้ว เราก็เข้าใจ คนที่เกิดสหชาติ วันเดียว ปีเดียว เดือนเดียวกัน เราก็บอกสหชาติ คือเกิดพร้อมกัน หรือขณะเดียวกันจะกี่นาทีก็แล้วแต่ แต่ความหมายก็คือเกิดพร้อมกัน เพราะฉะนั้น จิต และเจตสิกปราศจากกันไม่ได้ ต้องเกิดพร้อมกัน จิตจึงเป็นสหชาตปัจจัยของเจตสิกเพราะว่าต้องเกิดพร้อมกับเจตสิก แล้วเจตสิกก็ต้องเป็นสหชาตปัจจัยของจิต คือเราจะเรียนพื้นฐานก่อนเท่าที่เราจะสามารถเข้าใจในเบื้องต้น เพื่อเกื้อกูลต่อการที่เราจะได้เข้าใจถึงความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อาศัยกันเกิด หรือไม่ จะมีแต่ธาตุดินเกิดโดยไม่มีธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุลมได้ หรือไม่ หรือจะมีแต่ธาตุไฟ ไม่มีธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ได้ หรือไม่ ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุดิน ก็ต้องอาศัย ๓ ธาตุเป็นสหชาตปัจจัยของธาตุดิน ถ้ากล่าวถึงธาตุน้ำ อีก ๓ ธาตุ ก็ต้องเป็นสหชาตปัจจัยของธาตุน้ำ ถ้ากล่าวถึงธาตุไฟ อีก ๓ ธาตุก็ต้องเป็นสหชาตปัจจัยของธาตุไฟ ถ้ากล่าวถึงธาตุลม อีก ๓ ธาตุก็ต้องเป็นสหชาตปัจจัยของธาตุลม เพราะฉะนั้นก็คือว่า ไม่ว่าจะเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม ไม่ได้กล่าวเจาะจงเรื่องอะไร กล่าวเฉพาะการเกิดพร้อมกัน ถ้าจิตของบุคคลนี้ หรือเจตสิกของบุคคลนี้กับจิตของบุคคลอื่น หรือเจตสิกของบุคคลอื่นเป็นสหชาตปัจจัย หรือไม่ ไม่เป็น ต้องในจิต ๑ ขณะนั้นเอง ขณะที่เกิดมีอะไรเป็นปัจจัยโดยต้องเกิดพร้อมกัน หรือว่าลักษณะที่แข็ง ลักษณะที่ร้อน ลักษณะที่เป็นธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมเกิด ก็จะต้องในขณะของรูปนั้นที่เกิดด้วยกัน ไม่ใช่ว่าแยกกันเกิดจึงจะเป็นสหชาตปัจจัย ถ้ามีคำว่าปัจจัยซึ่งเป็นที่อาศัย เป็นธรรมที่เป็นเครื่องสนับสนุนให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น ต้องมีคำว่าปัจจยุบัน เพราะฉะนั้นคำว่า “ปัจจยุบัน” ก็คือ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยขณะนั้นๆ ต้องคู่กัน เหมือนเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผล เมื่อมีผลก็ต้องมีเหตุซึ่งเป็นที่เกิดด้วย จะขาดคำหนึ่งคำใดไม่ได้ จะกล่าวคำว่าปัจจัยเฉยๆ แล้วทิ้งคำว่าปัจจยุบันไม่ได้ ถ้ากล่าวคำว่าปัจจยุบันต้องรู้ว่าอะไรเป็นปัจจัย วิบากเป็นปัจจยุบัน อะไรเป็นปัจจัยของวิบาก กรรมเป็นปัจจัย วิบากเป็นปัจจยุบัน

    จิตเป็นปัจจัย ถามว่า อะไรเป็นปัจจยุบัน

    ผู้ฟัง เจตสิก

    ท่านอาจารย์ เจตสิกเป็นปัจจยุบัน อะไรเป็นปัจจัย

    ผู้ฟัง จิต

    ท่านอาจารย์ นี่คือเป็นสิ่งที่เราจะเข้าใจได้ และโดยปัจจัยอะไร ก็โดยสหชาตปัจจัย หมายความว่าต้องเกิดพร้อมกัน เราจะค่อยๆ เข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย

    ผู้ฟัง แฝดที่เกิดพร้อมกันเป็นสหชาต หรือไม่

    ท่านอาจารย์ ยังไม่พูดถึงแฝด หรือ ไม่แฝด กล่าวเพียงแค่จิต ๑ ขณะที่เกิดต้องอาศัยปัจจัยอะไร

    ผู้ฟัง เจตสิก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปคิดถึงแฝดเลย จิตใดเกิดขึ้นเมื่อใด จิตขณะนั้นอาศัยเจตสิกเป็นปัจจัย จิตเป็นปัจจยุบัน เจตสิกใดเกิดขึ้นเมื่อใด เจตสิกนั้นเป็นปัจจยุบันอาศัยอะไรเกิด อาศัยจิต เท่านั้นเองให้ชินหูกับคำว่า"ปัจจัย" และ "ปัจจยุบัน" และหมายความถึงสภาพธรรมหนึ่งที่เกิด ไม่ใช่ไปกล่าวอ้างถึงเด็กสองคน

    อ.วิชัย คือต้องพิจารณาว่าขณะนี้เรากล่าวถึงปรมัตถธรรม ถ้ากล่าวโดยบัญญัติบุคคลก็จะไม่ชัดเจนเลย เพราะเหตุว่า เด็ก หรือ ผู้ใหญ่ นั้น เป็นการกล่าวโดยสมมติ แต่เมื่อกล่าวถึงเจาะจงคือ จิต เจตสิก รูป ธรรมเหล่านี้เป็นปรมัตถธรรม คือ เกิดจากปัจจัย เด็กไม่มีจริง แต่จิต เจตสิก รูป มีจริง ก็กล่าวถึงธรรมที่มีจริงเกิดจากปัจจัยด้วย กล่าวถึงจิตเป็นสหชาตปัจจัยแก่เจตสิก แต่ถ้ากล่าวถึงเด็กแฝดเป็นการกล่าวโดยสมมติบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถธรรม ขณะนี้มีใคร หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่มี

    อ.วิชัย แต่ถ้ากล่าวเจาะจงคือมีจิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ จิต เจตสิก รูป เกิดจากปัจจัย แต่ถ้ากล่าวถึงเด็กเป็นการกล่าวโดยสมมติบัญญัติบุคคล

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นไม่ใช่สหชาตปัจจัย

    อ.วิชัย ถ้ากล่าวถึงปัจจัย ต้องกล่าวถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน นี่คือเป็นปัจจัย ถ้ากล่าวถึงผลคือ จิต เจตสิก รูป ปรมัตถธรรม ๓ เป็นปัจจยุบัน คือเป็นธรรมที่เกิดจากปัจจัย แต่ธรรมที่เป็นปัจจัยคือปรมัตถธรรมทั้ง ๔ คือจิต เจตสิก รูป นิพพาน ถ้าเราเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม การกล่าวถึงบุคคลต่างๆ ก็เข้าใจด้วย เพราะเป็นการกล่าวโดยบัญญัติบุคคลขึ้น แต่จริงๆ ต้องมุ่งหมายถึงปรมัตถธรรมที่เกิดจากปัจจัย

    ท่านอาจารย์ เด็กแฝดมี ๒ คน ใช่ หรือไม่ มีจิตกี่จิต ๒ จิต เป็นคนละจิต เพราะฉะนั้นจิตหนึ่งที่เกิดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็น" สหชาตปัจจัย " หมายความว่าเกิดพร้อมกันคือจิตเป็นปัจจัยเกิดพร้อมกับเจตสิกซึ่งเป็นปัจจยุบัน หรือเจตสิกเป็นปัจจัยซึ่งเกิดพร้อมจิตซึ่งเป็นปัจจยุบัน กล่าวถึงจิต เด็ก ๒ คน มี ๒ จิต จิต ๑ ที่เกิดจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ทั้ง ๒ จิต ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง ตอนปฏิสนธิ..

    ท่านอาจารย์ ภาษาไทยเราใช้คำว่าสหชาติ ใช่ หรือไม่ วัน เดือน ปีเดียวกัน แต่เราพูดถึงปัจจัยของสภาพธรรมว่า สภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่เกิดแล้วก็ดับ จะต้องมีปัจจัยจึงเกิดขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นถ้ากล่าวถึง จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่นิพพานไม่เกิด ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นนิพพานเป็นแต่เพียงอารัมมณปัจจัย เป็นอารมณ์ได้ แต่เราจะยังไม่กล่าวถึงนิพพาน จะกล่าวถึงขณะนี้ที่มี คือ จิต เจตสิก รูป จิตเป็นปัจจัยแก่เจตสิกก็ได้ เป็นปัจจัยแก่รูปก็ได้ เจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตก็ได้ เป็นปัจจัยแก่รูปก็ได้ รูปเป็นปัจจัยแก่จิตก็ได้ รูปเป็นปัจจัยแก่เจตสิกก็ได้ สภาพธรรมที่มีจริงอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น แต่ต้องชัดเจนว่าโดยปัจจัยใด ถ้าโดยสหชาตปัจจัยหมายความถึงเกิดพร้อมกัน ไม่กล่าวถึงดับเลย เมื่อสภาพธรรมใดที่เกิดพร้อมกัน คือ จิต และ เจตสิก มีปัจจัยพิเศษอีกปัจจัยหนึ่ง ไม่ใช่มีแต่สหชาตปัจจัย แต่เป็นสัมปยุตตปัจจัยด้วย เพราะเหตุว่าต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน อาศัยที่เกิดเดียวกัน เป็นสภาพนามธรรมซึ่งเข้ากันสนิท และต้องดับพร้อมกัน และต้องรู้อารมณ์เดียวกันด้วย นั่นเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเราจะไม่พูดถึงโดยละเอียดมาก แต่ขอให้ชินกับคำว่าปัจจัย และให้ชินกับคำบางคำซึ่งพอจะจำได้ พอจะเข้าใจได้ เช่น ถ้าเข้าใจเรื่องจิต เจตสิก แล้ว ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจเรื่องสหชาตปัจจัย หรือเข้าใจเรื่องธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจคำว่าสหชาตปัจจัย แต่ถ้ากล่าวถึงเด็กแฝดนั่นก็เป็นเรื่องแล้วว่าต้องกล่าวถึงจิตแต่ละขณะของเด็กแต่ละคน ซึ่งก็ต้องเป็นสหชาตปัจจัยแก่เจตสิกที่เกิดร่วมกันเฉพาะในขณะที่เกิดขึ้น

    ผู้ฟัง ผมขอสรุปเองก็ได้ว่ากรณีเด็กแฝด เนื่องจากปฏิสนธิเกิดขึ้น ๒ จิต

    ท่านอาจารย์ มีจิต ๒ ขณะ ใช่ หรือไม่ เพราะมีเด็ก ๒ คน จิตของเด็กคนหนึ่งก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตของเด็กอีกคนหนึ่งก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เจตสิกที่เกิดกับจิตก็เป็นสหชาตปัจจัยให้แก่จิตที่เกิดร่วมด้วย ไม่กล่าวถึงเด็ก แต่กล่าวถึงจิต

    ผู้ฟัง อาจารย์บอกว่าจิตเกิดขึ้นเรียกว่าสัมปยุตตธรรม จะเรียนถามว่าทำไมถึงเรียกว่าสัมปยุตตธรรม

    ท่านอาจารย์ จิตกับเจตสิกเกิดร่วมกันก็อาศัยกัน และกัน จิตเป็นสหชาตปัจจัยของเจตสิก เจตสิกก็เป็นสหชาตปัจจัยของจิต มหาภูตรูปทั้ง ๔ อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น เกิดพร้อมกันจึงเป็นสหชาตปัจจัย แต่รูปไม่ใช่นามธรรม เพราะฉะนั้นรูปเป็นสหชาตปัจจัยจริง แต่จิต และเจตสิกเป็นสหชาต และสัปยุตตปัจจัย เพราะว่าถ้าเป็นสัมปยุตตปัจจัยหมายความว่าต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน และเกิดที่รูปเดียวกันด้วยในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เพราะฉะนั้นความหมายของคำว่า " สัมปยุตต " ก็ต่างกับความหมายของคำว่า " สหชาต "

    ผู้ฟัง ก็มีอีกคำหนึ่งที่ได้ยินบ่อยๆ คือ คำว่าสหชาตธรรม

    ท่านอาจารย์ ธรรมที่เป็นสหชาติ คือเกิดพร้อมกัน

    ผู้ฟัง คือจิต และเจตสิกใช่ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมเป็นสหชาติ หรือเปล่า ถ้ากล่าวถึงเพียงสหชาต กล่าวถึงเพียงการเกิดพร้อม ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย ไม่ได้กล่าวถึงปัจจัยอื่น เช่นอัญญมัญญปัจจัยซึ่งมีในขณะนั้นด้วยในขณะที่เกิดพร้อมกัน แต่กล่าวเฉพาะการเกิดปัจจัยเดียวคือสหชาต

    อ.อรรณพ ผู้ที่ประกอบด้วยอกุศลมีความเคียดแค้นชิงชัง ก็ดูเหมือนว่าเขาเป็นคนปกติ แต่จริงๆ แล้วขณะที่อกุศลจิตเกิด วิกล วิกาล ไปด้วยอกุศลประการต่างๆ เพียงแต่ว่าเขาก็มีการตรึกไปในทางอกุศล แต่สำหรับคนที่เราเรียกว่าเป็นคนวิกลจริต คือ มีความสับสน คิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ประติดประต่อกัน แต่ทั้งสองบุคคลนี้ถ้าไม่ได้เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงก็เป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ คือทุกคนก็มีอกุศลจิตเป็นของแน่นอน ใช่ หรือไม่ เข้าเขต หรือถึงขีดบ้า หรือไม่ ถ้าผิดปกติเราใช้คำนี้ใช่ หรือไม่ แต่ถ้าเป็นปกติเราจะกล่าวว่าอาหารกำลังอร่อย นี่กำลังบ้า หรือไม่ ก็คงจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องเข้าใจความหมายที่เราใช้ด้วยว่าทุกคนมีอกุศล แต่ถ้าผิดปกติเมื่อใด เราก็จะเริ่มใช้ในความหมายอ่อนๆ ก่อน บางคนอาจจะบ้ารถยนต์ทุกยี่ห้อ หรือรถเก่ากี่คันเก็บเอาไว้ บางคนอาจจะบ้าต้นไม้บางชนิด เช่น ต้นบอน หรืออะไรก็ได้ ก็แล้วแต่ว่าเราใช้ภาษาบ่งถึงให้เข้าใจถึงความผิดปกติ เพราะธรรมดาทุกคนก็มีอกุศล แต่ถ้ามากผิดปกติเราก็ใช้คำนั้นจนกระทั่งถึงคำว่าวิกลจริต ก็จะต้องผิดปกติจากธรรมดา เกินจากธรรมดามาก แต่ก็คืออกุศลนั่นเอง เพราะกุศลเป็นอย่างนั้นไม่ได้

    ผู้ฟัง คำว่าบ้าดีเดือด จากพจนานุกรม มีอาการคลุ้มคลั่ง มุทะลุดุดันเป็นคราวๆ

    ท่านอาจารย์ ก็ชัดเจน คืออย่างไร ก็ไม่พ้นสภาพของจิต เพราะฉะนั้นจะเห็นโทษของอกุศลที่สะสมทีละเล็กทีละน้อย อย่างที่กล่าวว่าเวลาที่กล่าวว่า เวลาพูดถึงสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ สัมผัปปลาปวาจา พูดมากๆ จิตใจของเราจะคิดเรื่องอะไร จะคิดเรื่องธรรม หรือจะคิดเรื่องที่กล่าวเล่นๆ ไปเรื่อยๆ มากๆ เพิ่มขึ้นๆ ทั้งวันทั้งเดือนทั้งปีก็เป็นเรื่องพูดเล่น ไม่ใช่พูดจริง ไม่ใช่พูดในสิ่งที่เป็นสาระ หรือสิ่งที่มีประโยชน์ ฉะนั้นกาย วาจา ก็ส่องไปถึงสภาพของจิต ซึ่งถ้าจิตในขณะนั้นมีความคิดในเรื่องนั้นมาก ก็แสดงอาการของความฟุ้งซ่านจนกระทั่งเป็นอุปนิสัย นั่นก็เป็นประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือเวลาที่ดื่มสุราก็จะทำให้ขาดสตินี่แน่นอน ทำสิ่งซึ่งถ้าไม่ดื่มจนเมาไม่สามารถจะทำได้เลย ก็แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีมากขึ้นสะสมไว้จากชาติหนึ่งไปอีกชาติหนึ่งบ่อยๆ ก็จะถึงอาการที่มีอาการของความผิดปกติที่เป็นบ้าได้ เพราะฉะนั้นก็อาจเป็นเรื่องของโรคภัย เพราะว่าแม้ว่าจะไม่มีโรคภัย ทุกคนก็ฟุ้งซ่านกันอยู่แล้วใช่ หรือไม่ แล้วก็ถ้ามีโรคภัยร้ายแรงขึ้น ความฟุ้งซ่านจะเพิ่มขึ้นได้ หรือไม่ ในเรื่องโรคนั้น ในเรื่องความเป็นห่วง สารพัดเรื่องจะติดตามมา เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ได้สะสมมาทั้งการดื่มสุรา หรือการพูดสิ่งที่ไร้สาระไม่เป็นประโยชน์ การคิดนึกเรื่องที่ฟุ้งซ่านไปต่างๆ ก็เป็นส่วนประกอบของการสะสมของจิตที่จะทำให้มีลักษณะของอาการผิดปกติที่เรียกว่าวิกลจริตได้

    ผู้ฟัง ที่กล่าวว่าเรายังไม่จะรู้ว่าเป็นนก เรายังไม่รู้ว่าเป็นหน้าต่าง พัดลม จนกว่าจะมีมโนวิญญาณเข้ามาเกี่ยวข้อง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 135
    6 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ