สภาวลักษณะของจิต ๒


    อดิศักดิ์   เท่าที่ฟังท่านอาจารย์มาหลายปีนี้ ก็รู้ว่าจิตมีลักษณะรู้ เรียกว่ารู้อารมณ์เป็นลักษณะ แต่พอคุณกฤษณาเอามาอ่าน ๔ อย่าง เมื่อกี้ก็ลืมไปอัน เรื่องความเป็นหัวหน้า ความถึงก่อน

    ท่านอาจารย์ คุณกฤษณาก็คงจะยก ๔ อย่างขึ้นมา เพื่อให้เห็นความต่างกันของจิตกับเจตสิก

    อดิศักดิ์   ทำให้เรารู้ลักษณะของจิตได้ดีขึ้น

    ท่านอาจารย์ เพราะว่านอกจากจิตแล้วก็มีนามธรรมซึ่งเป็นเจตสิก เพราะฉะนั้นก็แยกลักษณะเฉพาะของแต่ละอันแต่ละอันออกมาให้เห็นชัดว่าต่างกัน มิฉะนั้นแล้วความเป็นตัวตนยังมีอยู่ ไม่มีทางจะหมดไปได้เลย ทั้งๆที่เรียนเรื่องจิต เรียนเรื่องเจตสิก  รู้ว่าจิตไม่ใช่เจตสิก รู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน ก็ยังเป็นเราอยู่นั่นแหละ

    เพราะฉะนั้นจึงต้องฟังให้กระจ่าง ให้มีความจำที่มั่นคง จนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมจริงตัวจริง ตัวจริงที่กำลังเห็น มีทั้งจิต เจตสิก ตัวจริงที่กำลังได้ยิน ตัวจริงที่นึกคิดซึ่งเป็นทั้งจิตและเจตสิก โดยอาศัยการฟังจนกระทั่งซึมซาบจริงๆ ในเรื่องของจิตว่าเป็นสภาพรู้ แล้วก็ในเรื่องของเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกัน ให้รู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน เพื่อให้เห็นว่าไม่ใช่เรา นี่คือจุดประสงค์ที่จะเห็นว่าเป็นอนัตตา

    อดิศักดิ์   แต่ความเหมือนกันของมันก็ต้องมี อย่างเช่น เมื่อกี้ข้อ ๓ มีการสืบต่อกัน

    กฤษณา   มีการสืบเนื่อง คือ เกิดดับสืบต่อกัน เป็นอาการปรากฏของจิต 

    อดิศักดิ์   เจตสิก ก็คงมีลักษณะอย่างนั้น

    กฤษณา   อันนี้ไว้ถึงเวลาเรื่องเจตสิก

    อดิศักดิ์   บางอย่างมันก็คงจะต้องเหมือนกันบ้าง

    กฤษณา   อาการปรากฏของจิตคือเกิดดับสืบต่อ สืบเนื่องกัน ทั้งๆที่จิตก็มีการสืบต่อ เกิดดับต่อต่อเนื่องอาการปรากฏ แต่ทำไมเราไม่เห็นอาการปรากฏของจิต  อาจารย์คะ

    ท่านอาจารย์ อวิชชาเห็นไม่ได้

    กฤษณา   อันนี้ก็คงเป็นที่เข้าใจลักษณะอาการปรากฏ อันที่ ๔ ก็เหตุใกล้ให้เกิด ประการที่ ๓ อาการปรากฏ คือ มีการสืบเนื่องกัน คือ การเกิดดับสืบต่อกันเป็นอาการปรากฏ ภาษาบาลี สันธานปัจจุปัฏฐานะ ท่านอาจารย์สมพรกรุณาอธิบายบาลี สักนิด

    สมพร สันธานหมายความว่าเกิดเนื่องกันไปเป็นอาการปรากฏ จิตนี้ไม่หยุดเกิด การปรากฏของจิตต้องเกิดอยู่เรื่อยๆ  ก็เพราะมีปัจจัยให้เกิดก็ต้องเกิดอยู่เรื่อยๆ การปรากฏของจิตเพราะมันเกิดขึ้นบ่อยๆ ๆ แล้วก็ จึงจะปรากฏ ถ้าไม่เกิดก็ไม่ปรากฏ

    กฤษณา   เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สันทานะ

    สมพร สันทานะ เกิดสืบต่อกันไปไม่สิ้นสุด ไม่มีหยุดเลย

    ท่านอาจารย์ ทำไมเรียกว่าสันทานะ ในเมื่ออาการของเขาคือสันทานะ

    สมพร การปรากฏการเกิดสืบต่อกันไปเรื่อยๆ สืบต่อปกติ ปรากฏ  การปรากฏของจิตก็อาศัยการเกิด เกิดสืบต่อ รู้ได้โดยการเกิดสืบต่อกันไป ดวงนี้ดับไปแล้วดวงนี้ก็เกิดขึ้น  ดวงนี้ดับแล้วดวงนี้ก็เกิดขึ้น เป็นการปรากฏของจิต

    กฤษณา   คือความหมายของคำว่าสืบต่อ มาจากความหมายของ สันทานะ อย่างนั้นใช่ไหมคะ

    สมพร สันทานะ ก็ทำนองเดียวกัน

    กฤษณา   ถ้าอย่างนั้นก็ขอกลับมาที่สภาวลักษณะของจิต ลักษณะของจิตข้อที่ ๔ ก็คือ นามรูปปทัฏฐานัง คือมีนามธรรมและรูปธรรม เป็นปทัฏฐาน เป็นเหตุใกล้ให้เกิด  อันนี้อยากจะเรียนถามท่านอาจารย์สุจินต์ ที่ว่านามธรรมและรูปธรรมเป็นเหตุใกล้ให้เกิด เป็นเหตุใกล้ในฐานะที่เป็นอารมณ์หรือเปล่า หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ มิได้ค่ะ หมายความว่า จิตจะเกิดต้องอาศัยเจตสิก และในภูมิที่มีขันธ์ ๕  ต้องอาศัยรูปด้วย ถ้าไม่ใช่ภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็เว้นรูป

    กฤษณา   ใคร่ขอเรียนท่านอาจารย์สมพรให้ช่วยอธิบายความหมายของคำว่า “ชาติ” ให้เข้าใจก่อนว่าหมายความว่าอะไรอย่างไร

    สมพร คำว่าชาติ มันมีอย่างนี้ ชาต ถ้ามีสระอิ เป็นชาติ เราก็อ่านว่า ชาด  ชา ติ กับ ชา ตะ มีความต่างกันนิดหนึ่ง ชาติที่บอกว่าการเกิด การเกิดขึ้นของรูปธรรมนามธรรม เราใช้ ชา-ติ แต่บางทีในภาษาบาลี มีอีกอันหนึ่ง เรียกว่า ชาตะ แปลว่าเกิดแล้ว ส่วนมากเขาใช้เป็นชาติ ในที่นี้ก็หมายถึงชาติแน่ว่า  จิตมี ๔ ชาติ  ไม่ใช่ชาตะ เป็นชาติ หมายถึงการเกิดขึ้นของจิต ก็คงไม่มีปัญหาอะไร

    กฤษณา   เป็นอันว่า ชาติ หมายถึงการเกิด ถ้าชาต เกิดแล้ว

    สมพร ครับใช่ครับ

    กฤษณา   ถ้าอย่างนั้น ชาติของจิตก็คือการเกิดขึ้นของจิต อย่างนี้ใช่ไหม

    สมพร การเกิดขึ้นของจิต ประเภทต่างๆเป็นกุศล อกุศลอะไรก็แล้วแต่

    กฤษณา   เกิดขึ้นเป็นกุศล  เกิดขึ้นเป็นอกุศล ขอบพระคุณ


    หมายเลข 8964
    13 ก.ย. 2558