เข้าใจถูก นำไปสู่การปฎิบัติถูก


    ศึกษาธรรมแต่ปฏิบัติผิด หมายความว่าเข้าใจธรรมหรือเปล่า เพียงแต่รู้ว่ามีจิตเท่า ไหร่ เจตสิกเท่าไหร่ จิตนั้นมีลักษณะนั้น เพราะว่ามีหลายคนก็เป็นทั้งชาวต่างประเทศ ด้วยที่มีความรู้ในเรื่องของคำ และเรื่องราวของปรมัตถธรรม แต่ไม่เข้าใจการอบรมเจริญ ปัญญา มีการกำหนดลมหายใจ เพราะมีที่กล่าวถึงไว้ในกายนุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่ต้อง ไม่ลืมว่าปริยัติเป็นเหตุที่จะนำมาซึ่งปฏิปัตติ และถ้าเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องนำมาซึ่ง ปฏิเวทคือการรู้แจ้ง

    เพราะฉะนั้นการศึกษาใดๆ ก็ตามที่ไม่นำให้เกิดการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริงซึ่งจะรู้ได้ว่าปรากฏกับสติเพราะสติเกิด และก็ กำลังมีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏกับสตินั่นแหละเป็นอารมณ์ ถ้าไม่ใช่การรู้อย่างนี้จะไม่ เห็นการเป็นอนัตตาเลย เพราะว่ามีความเป็นเรา มีความเป็นตัวตนที่กำลังกำหนดจด จ้องอยู่ที่หนึ่งที่ใด ขณะนั้นก็มีความต้องการ แล้วจะละความต้องการได้อย่างไร เพราะฉะนั้นปริยัตินั้นก็ไม่ใช่ความเข้าใจเลย ถ้านำไปสู่การปฏิบัติผิด แต่ว่าถ้ามี ความเข้าใจถูกจริงๆ จะไม่นำไปสู้การปฏิบัติผิดเลย เพราะว่ามีความเข้าใจจริงๆ ว่า ขณะนี้เป็นธรรม แต่ว่าไม่ได้ปรากฏกับสติ แต่ปรากฏกับโลภะบ้าง ปรากฏกับโทสะบ้าง ที่ติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ หรือว่าไม่พอใจในสิ่ที่กำลังปรากฏ แต่ว่าขณะใดที่ ลักษณะของสภาพธรรมเหมือนอย่างนี้ ไม่ได้ต่างกันเลย แต่ปรากฏกับสติ นี่คือความต่าง ขณะนั้นเพราะการศึกษาด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องในลักษณะของ สติสัมปชัญญะ ในสติปัฏฐาน และก็ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นถ้าเป็น ปริยัติที่เป็นความเข้าใจจริงๆ ว่าขณะนี้เป็นธรรม และก็การที่จะรู้แจ้งได้คือการอบรม ด้วยสติที่เกิดไม่ใช่เราจะทำ หรือเราจะกำหนด ขณะนั้นปริยัตินั้นจึงจะนำให้เกิดปฏิปัตติ และปฏิบัติที่ถูกต้องก็จะทำให้รู้แจ้งแทงตลอดความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้นปริยัติไม่ได้หมายความถึงเพียงเรียนแล้วก็ฟัง แต่ว่ายังคงมีความไม่รู้ หรือความเป็นตัวตนอย่างมากที่ยึดถือว่าจะต้องมีการทำได้ หรือว่าจะต้องมีเราที่ทำ ซึ่ง ความจริงถ้าฟังต้องมีความเข้าใจได้เลยว่าขณะนี้ก็คือจิต เจตสิก รูป แม้ว่าสติสัมปชัญญะยังไม่ได้เกิดที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่ก็มีความเข้าใจถูกในขั้นฟัง ซึ่งความเข้าใจถูกต้องเป็นปัญญาของเราเอง นี่จึงจะเป็นปริยัติ มิฉะนั้นก็จะนำไปสู่ข้อ ปฏิบัติผิดซึ่งจะไม่กลับมาสู่ข้อปฏิบัติที่ถูกได้ถ้ายังคงเป็นความเห็นที่ผิดหรือความเข้า ใจที่ผิด

    เพราะฉะนั้นธรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก และก็เป็นเรื่องที่ตรงด้วย เหตุต้อง ตรงกับผล ความเข้าใจเองของเราจริงๆ นี่คือประโยชน์จากการฟัง ถ้ายังไม่เข้าใจเพียง แต่ว่าจำๆ จากเรื่องราวที่มีในหนังสือหรือตำราต่างๆ ขณะนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ ปัญญาที่อบรมเป็นแต่เพียงสัญญาความจำซึ่งในชาติหนึ่งอาจจะจำเรื่องนี้ ภาษานี้ อีก ชาติหนึ่งก็ลืมหมด เพราะเป็นแต่เพียงความจำเท่านั้น


    หมายเลข 8736
    24 ม.ค. 2567