น้ำหนึ่งใจเดียวกัน


    แม้แต่คำว่า “น้ำหนึ่งใจเดียวกัน” ซึ่งเป็นข้อความในพระไตรปิฎก ก็น่าพิจารณาว่า หมายความถึงขณะไหน

    สำหรับผู้ที่ฟังพระธรรม  และน้อมประพฤติปฏิบัติตามเพื่อจะขจัดกิเลส   ขัดเกลา กิเลสเพื่อไปสู่ทางเดียวกัน  คือ  รู้แจ้งอริยสัจธรรม   นั่นเป็นผู้ที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะว่ามีจุดประสงค์อันเดียวกัน   ฟังพระธรรมเพื่อจะประพฤติปฏิบัติตาม  เพื่อขัดเกลา กิเลส  เพื่อไปสู่ทางที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท  แต่ถ้าเป็นอกุศล  ไม่ใช่น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะเหตุว่านำไปสู่คติต่างๆ ซึ่งไม่นำไปสู่พระนิพพาน

    เพราะฉะนั้นแต่ละท่านซึ่งฟังพระธรรมก็พอจะพิจารณาขึ้นมาอีกว่า จิตใจของท่าน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันหรือยัง  เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่น้ำหนึ่งใจเดียว กัน  จะถึงพระนิพพานไหมคะ  เพราะว่ายังมีกิเลสอยู่ และไม่รู้ และไม่ขัดเกลาด้วย

    เพราะฉะนั้นผู้ที่จะขัดเกลากิเลสจริงๆ  จึงต้องเป็นผู้ละเอียด  แล้วก็พิจารณาธรรม แม้เพียงข้อธรรมบางประการ   ซึ่งอาจจะคิดว่า เล็กน้อย  แต่แม้ข้อธรรมเพียงคำว่า “เป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน”  ก็ทำให้ระลึกได้ว่า ในขณะนี้ท่านเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับใครบ้าง หรือว่าสำหรับบางบุคคลยังเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวไม่ได้  ถ้ายังเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวไม่ได้ เป็นความผิดของใคร

    เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาจริงๆ ถึงจะได้ประโยชน์ เป็นความผิดของคนอื่นหรือ ว่าเป็นความผิดของท่านเอง  เพราะในขณะที่กำลังไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับคนอื่น ขณะนั้นจิตเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล


    หมายเลข 4914
    18 ก.ค. 2558