ความติดข้องและความเห็นผิดที่เกิดกับโสมนัสเวทนา


    ผู้ฟัง อย่างชวนะทางปัญจทวาร ตาเห็นรูปแล้วเกิดโลภะชวนะ ๗ ขณะ ตรงนี้ยังไม่ เห็นโทษ รบกวนให้อาจารย์ช่วยขยายตรงนี้

    ท่านอาจารย์ การติดข้องเกิดขึ้นแล้ว ดีหรือไม่ดี เมื่อเทียบกับความติดข้อง ลักษณะของ โลภะเป็นสภาพที่ติดข้องต้องการ ไม่สละ ไม่ละ ถ้าเกิดความติดข้องในสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นทุกข์หรือเปล่า แม้จะรู้สึกเพลิดเพลินเพราะว่าโสมนัสเวทนาก็ได้ หรือว่าอุเบกขา เวทนาก็ได้ เกิดร่วมกับโลภมูลจิต หรือจะกล่าวว่าเกิดร่วมกับโลภเจตสิกซึ่งก็ต้องเกิด ร่วมกับจิตนั่นเอง ลักษณะที่เราพอจะรู้ได้ในวันหนึ่งก็คือว่าขณะใดก็ตามที่เกิดโสมนัส พอใจอย่างมากในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้ทราบว่าในขณะนั้นกำลังติดข้องในสิ่งนั้นอย่างมาก รายการโทรทัศน์ก็มีหลายรายการ จะดูรายการไหน ดูแล้วก็สนุก โสมนัส ขณะนั้นเป็น ลักษณะของความติดข้อง ต้องดู ถ้าเพียงแต่อุเบกขาไม่ดูก็ยังได้ ก็อยากดูเหมือนกัน แต่ ถ้าว่ารายการนั้นทำให้เราเกิดโสมนัสมากๆ เราก็ต้องคอยแล้วใช่ไหม เมื่อไหร่จะถึง เวลานั้น ต้องทำอะไรบ้างที่จะทำให้ไม่พลาดการดู ที่จะทำให้เกิดโสมนัสในในขณะนั้น เพราะฉะนั้นก็เป็นชีวิตประจำวัน แต่ให้ทราบว่าขณะนั้นเป็นอกุศลที่มีกำลัง เพราะว่าเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา แต่ว่าสำหรับประเภทที่หนึ่งเป็นโลภะที่เกิดร่วมกับ โสมนัสในความเห็นผิด แต่เวลาที่เราดูโทรทัศน์ขณะนั้นไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย แต่เวลาอื่นที่มีทิฏฐิความเห็นต่างๆ คลาดเคลื่อนไม่ตรงตามความเป็นจริง ขณะนั้นก็ เป็นความติดข้อง เชื่อ ยึดถือในความเห็นนั้น และบางขณะบางกาละก็ด้วยความโสมนัส ด้วย บางคนเขาก็จะบอกว่าเขาชอบการปฏิบัติแบบนี้ทำให้เขารู้สึกสบาย มีปัญญาเกิด ร่วมด้วยหรือเปล่า เป็นกุศลหรือเปล่า นี่ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่โลภะก็ต้องไม่ปนกับ สภาพธรรมอื่น เพราะว่าอาจจะหลงผิดคิดว่าขณะนั้นเป็นปัญญา แต่หลงผิดขณะนั้นก็ เป็นโลภะที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้กว่าจะพ้นจากความเห็นผิด หลายประการตั้งแต่เกิดมา ตอนเป็นเด็กก็คงจะมีนักเรียนซึ่งพอได้ยินว่าใครเสกปากกา แล้วสอบได้ ก็ไปแล้วหาบุคคลนั้น เพราะว่าเป็นเด็กแล้วก็ไม่รู้ว่ามีเหตุมีผลหรือเปล่า เป็นความจริงหรือเปล่า แต่ก็มีความติดข้องมีความต้องการที่จะให้สอบได้ หรือว่าบาง คนก็อาจจะทำอะไรก็แล้วแต่มีหลายๆ สี ถ้าทำอย่างนี้ก็จะเข้ามหาวิทยาลัยขณะนั้นได้ สีนั้นต่างๆ นี่ก็เป็นความเห็นที่มีตั้งแต่เด็ก แล้วแต่ว่าจะเห็นผิดอย่างไหน จนกระทั่งโต ขึ้นก็ยังมีความเห็นผิดติดตามมาได้ ถ้าขณะนั้นเป็นความยึดถือในสิ่งที่ผิด เพราะฉะนั้นสำหรับเรื่องความเห็นผิด เราจะต้องบอกหรือจะต้องยกตัวอย่างไหม ในเมื่อชีวิตประจำวันก็มี ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ที่เคย กล่าวถึงแล้วในเทปในการกล่าวถึงโลภมูลจิตครั้งหนึ่งก็คือกล่าวถึงกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความ เชื่อว่า ถ้าตื่นขึ้นมาแล้วเห็นดอกประดู่ แล้วก็เอาดอกประดู่นั้นมาทัดหู วันนั้นก็จะเป็นวัน ดีหมายความว่าจะได้สิ่งที่ดี ได้ลาภ ได้อะไรต่างๆ ขณะนั้นเป็นความเห็นผิดหรือเปล่า ถ้าเป็นความเห็นผิด จิตขณะนั้นต้องเป็นโลภมูลจิต เพราะฉะนั้นผู้ที่เห็นผิดก็สามารถที่ จะรู้จากการศึกษา แต่เวลาที่ความเห็นผิดเกิดขึ้นจริงๆ จะรู้ไหม ไม่รู้เลยเพราะขณะนั้น เห็นผิด แต่จากการศึกษาเราก็พอที่จะเข้าใจได้ว่า ขณะนั้นมีการร้องเพลงสรรเสริญหรือ ว่าตื่นเต้นหรือดีใจกับความเห็นนั้นๆ หรือเปล่า ถ้ามีขณะนั้นก็ประกอบด้วยความเห็นผิด ที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา หรือว่าแม้แต่เข้าใจผิดว่าวิปัสสนาญาณเกิด นามรูปปริจเฉทญาณเกิดแล้วก็ตามแต่ โดยชื่อโดยความเข้าใจผิด แต่ขณะนั้นเกิดดีใจ ปิติ ขณะนั้นก็เป็นโลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด แล้วก็เกิดร่วมกับความรู้สึก โสมนัส นี่คือการที่เราจะเข้าใจโลภมูลจิต ๘ ประเภททีละประเภทๆ ที่หนึ่งก็คือความ ติดข้องในความเห็นผิดเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา แล้วก็มีกำลังจากการที่ได้สะสมมาใน อดีตชาติ พอได้ยินอะไรที่ผิดดีใจมาก เชื่อทันทีเพราะว่าสะสมมา ไม่มีใครชักชวนด้วย แต่จากการสะสมก็เป็นปัจจัยให้ความเห็นผิดนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง ก็จะเห็นได้ว่าใคร มีอัธยาศัยที่สะสมในการที่จะเห็นผิดมากน้อยแค่ไหน และเกิดร่วมกับเวทนาอะไร

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 117


    หมายเลข 8744
    27 ม.ค. 2567