โลภะมูลจิตประเภทที่ ๑ -พฐ.117


    ท่านอาจารย์ แต่ให้ทราบว่าสำหรับโลภมูลจิต เราจะค่อยๆ เข้าใจไปทีละประเภท อย่าง ประเภทที่ ๑ เป็นโลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา เพราะว่าเวทนาก็ต้องเกิดกับจิต ตามควรแก่จิตนั้นๆ เช่นความรู้สึกที่ไม่สบายใจจะเกิดกับโลภมูลจิตความติดข้องกับสิ่ง นั้นไม่ได้ เพราะว่าถ้าไม่สบายใจ ไม่ชอบ จะติดข้องในสิ่งนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่ ความไม่สบายใจเกิดขึ้น ก็ต้องเกิดกับอกุศลที่เป็นประเภทโทสะเท่านั้น แต่สำหรับโลภมูลจิต ถ้ากล่าวโดยเวทนา จะมีเวทนาเกิดร่วมด้วยเพียงสองประเภทคือบางขณะอโลภะ ก็เกิดร่วมกับอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์) ซึ่งอีกคำหนึ่งที่ใช้ก็คือ อุเบกขาเวทนา เพราะฉะนั้นโลภะบางขณะก็เกิดร่วมกับความรู้สึกเฉยๆ แต่โลภะบาง ขณะก็เกิดร่วมกับความโสมนัส ความยินดี ความสบายใจ ความสุขใจ เป็นอย่างนี้หรือ เปล่าในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เช้ามาถ้าโลภะเกิดก็ไม่พ้นจากเวทนาประเภทหนึ่งประเภท ใด คือบางขณะก็เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา และบางขณะก็เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา แค่ นี้รู้หรือยัง หรือว่าถึงรู้โดยชื่อโดยเรื่อง แต่ว่าเวลาที่สภาพธรรมเกิดจริงๆ รู้ไหมว่าขณะ นั้นเป็นอกุศลประเภทใด แต่ลักษณะของเวทนาจะทำให้เราสามารถรู้ถึงประเภท ของอกุศลจิตในขณะนั้นได้ เพราะเหตุว่าสำหรับโสมนัสเวทนา ถ้าเป็นอกุศลจะเกิดกับ โลภมูลจิตประเภทเดียว จะไม่เกิดกับโทสมูลจิต และไม่เกิดกับโมหมูลจิตเลยสำหรับ โสมนัสเวทนา

    เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ ถ้าโสมนัสเวทนาเกิดเป็นอกุศล รู้ได้ไหมว่าจิตขณะนั้น เป็นอะไร เป็นโลภมูลจิต ไม่ใช่โทสมูลจิต ไม่ใช่โมหมูลจิต แต่จะมีความติดข้องจนถึง โสมนัส ยินดี มีความสุขในอารมณ์นั้น ขณะนั้นก็คือโลภะที่มีกำลังเพราะเหตุว่าเกิดร่วม กับโสมนัสเวทนา เพราะฉะนั้นโลภะก็จะจำแนกโดยการที่ว่าบางประเภทเกิดร่วมกับ ความรู้สึกเฉยๆ บางประเภทเกิดร่วมกับความรู้สึกโสมนัสซึ่งแยกออกได้คือเกิดร่วมกับ อุเบกขา ๔ ประเภท และเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ๔ ประเภท แต่สำหรับโลภมูลจิต ประเภทแรกที่จะกล่าวถึง ก็คือโลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา และเกิดร่วมกับ ความเห็นผิดด้วยทีละอย่าง และต่อไปก็จะมีกำลังด้วย แต่ว่าขอกล่าวถึงเพียงโลภมูลจิต ประเภทที่ ๑ เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา และเกิดร่วมกับความเห็นผิด

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 117


    หมายเลข 8743
    27 ม.ค. 2567