สะสมการฟังก็สะสมสัญญาว่าไม่ใช่เรา


        วิ. ท่านอาจารย์กล่าวว่าปัญญา (ความเข้าใจ) ขณะที่ฟังแล้วก็เข้าใจก็เป็นความรู้สึกว่าจากความไม่รู้แล้วก็เริ่มรู้ขึ้น อันนั้นคือเป็นการคลายของเขาในตัว เป็นการเริ่มที่จะคลายความไม่รู้ แต่ว่าความไม่รู้นี้ก็โดยเป็นธาตุที่ใหญ่ เพราะเหตุว่าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยมากก็เป็นไปกับอวิชชา เริ่มจะเข้าใจว่าหนทางของการละแม้จขั้นการฟัง เริ่มที่จะเข้าใจขึ้น แต่นั่นก็เป็นการเริ่มคลายใช่ไหมครับ แต่ว่าก็ต้องอบรมอีกมาก

        สุ. การฟังแล้วเข้าใจก็ค่อยๆ ละความไม่รู้ที่เกิดจากไม่เคยฟังแค่นั้น เพราะฉะนั้นผลก็คือว่าเมื่อฟังก็มีความรู้ขั้นที่เกิดจากการฟัง และก็อาศัยการฟังต่อไป ความเข้าใจก็จะเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าสภาพจิตจะเป็นอย่างไรก็ตาม จะเบื่อหรือว่าจะสนุก ไม่สนใจยังไงก็ตาม ถ้าระลึกได้ แม้สัญญาที่จำว่าการฟังมีประโยชน์ คนนั้นก็จะนึกแล้วก็ฟังทั้งๆ ที่กำลังอยู่ในภาวะซึ่งอาจจะไม่พร้อมที่จะฟังก็ได้ นี่คือสภาพธรรมที่เราจะไปเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้เลย แต่สะสมความเข้าใจถูกว่าถ้าไม่มีการฟัง ไม่มีการไตร่ตรอง แม้ว่าไม่ใช่เราเป็นสภาพธรรมก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรม กี่ภพกี่ชาติก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นการฟังจะมีประโยชน์มาก ไม่ว่าอดีตที่เคยฟังมาแล้วก็จะต้องฟังต่อไปอีก หรือฟังแล้ว เข้าใจแล้ว สติสัมปชัญญะเกิดแล้ว อบรมแล้ว ก็ฟังต่อไปอีก เพราะว่าขณะที่ฟัง สัญญาเริ่มที่จะจำสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง แต่จะรู้ได้ว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาอื่นๆ ที่จำเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรื่องราวต่างๆ เทียบกับขณะที่กำลังฟัง เพราะฉะนั้นการสะสมการฟังก็จะทำให้สัญญาที่เกิดจากการฟังเพิ่มขึ้น และก็จะอุปการะให้กุศลขั้นอื่นๆ เจริญด้วย ขาดการฟังไม่ได้เลย ยังไงๆ อย่าประมาทคิดว่าเข้าใจแล้วจะต่างกับขณะที่แม้คิดว่าเข้าใจแล้วก็ฟังอีก สัญญาก็จะเพิ่มขึ้นอีก มั่นคงขึ้นอีกด้วย

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 214


    หมายเลข 10893
    25 ม.ค. 2567