มีตัวตนไปแยกหรือค่อยๆ เข้าใจขึ้น


        ผู้ถาม ก็พอทราบขณะเห็นกับขณะได้ยินเป็นคนละขณะ

        สุ. นี่คือพื้นฐานที่จะทำให้เราค่อยๆ เห็นถูกขึ้นจนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์จริงๆ ว่านี่ไม่ใช่เป็นเพียงคำพูด แต่เป็นสิ่งที่รู้ได้

        ผู้ถาม ความเป็นจริงแล้ว ในขั้นความเข้าใจก็คือส่วนหนึ่ง แต่ในขั้นที่จะให้แยกออกได้เลย

        สุ. ไม่ใช่ให้แยกออกได้เลย อันนี้ต้องฟังให้เข้าใจ ไม่ใช่ส่งเสริมความเป็นตัวตนเพราะความเป็นตัวตนนี่มีอยู่แล้ว แต่หนทางนี้เป็นหนทางที่จะดับความเป็นตัวตน ไม่ใช่ว่าเมื่อทุกคนเป็นตัวตนก็เป็นตัวตนไปเรื่อยๆ ทำทาน รักษาศีล อะไรต่ออะไรไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่อบรมเจริญปัญญาที่จะมีความเห็นถูก เข้าใจถูก ซึ่งเป็นกุศลอย่างยิ่ง เพราะขณะนั้นสามารถที่จะรู้ความจริง ลองคิดดู สัจจะ ความจริงมี ไม่ใช่ไม่มี กำลังมีด้วย แต่ว่าค่อยๆ อบรมความเห็นถูก ไม่ใช่ไปแยกให้ออกจากกัน ตัวตนไปแยกหรือค่อยๆ เข้าใจว่าขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาแค่นี้เป็นอย่างนี้ เป็นธาตุชนิดหนึ่งมีจริงๆ กำลังปรากฏ ไม่ต้องไปแยกอะไรเลย แต่เริ่มเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏจริงๆ ว่าขณะนี้ ยากใช่ไหม เพราะเหตุว่าถึงจะยังไงๆ ก็ต้องค่อยๆ เกิดทีละน้อย จะไปเกิดทีเดียวให้ละความยินดียินร้ายในสิ่งที่ปรากฏ เพราะปัญญาได้เจริญถึงขั้นที่แม้รู้แล้วยังต้องละด้วย ละความยินดียินร้าย

        ผู้ถาม ถึงแม้เราหลับตา สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ยังสามารถปรากฏได้ แต่เพีหยงแต่เราไม่รู้เท่านั้นเองว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา

        สุ. มายความว่ายังไงเราไม่รู้เพราะไม่ปรากฏหรือว่าปรากฏแล้วเราไม่รู้

        ผู้ถาม ปรากฏแต่เราไม่รู้

        สุ. ถ้าขณะนั้นเสียงไม่ได้ปรากฏเกิดขึ้นทีละขณะ รู้อารมณ์ทีละอย่าง แต่เร็วมากจนกระทั่งเดี๋ยวนี้เหมือนกับทั้งเห็นด้วย รู้ด้วยว่าเป็นใคร และก็ยังได้ยินด้วย จะหลับตาหรือลืมตาเหมือนกัน ถ้าเป็นการเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม

        ผู้ถาม ก็เป็นความเข้าใจขั้นคิดนึกใช่ไหม

        สุ. เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญามี ๓ ระดับ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท ในพระพุทธศาสนาสมบูรณ์ทั้ง ๓ ไม่ใช่เริ่มต้นด้วยปฏิเวท รู้แจ้งแล้วค่อยๆ มาเรียนว่าที่รู้นั้นอะไร อันนี้ผิด เป็นไปไม่ได้เลย จะรู้ได้ยังไงสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้เกิดดับ ไม่ใช่กำลังคิดนึกด้วย เป็นเพียงสิ่งที่กระทบ ปรากฏ แล้วก็หมดไป ถ้ายังมีความเยื่อใยเป็นเราที่จะรู้ขณะนั้นก็ไม่สามารถที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้ เพราะยินดี และยินร้ายในสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่า “ยินดียินร้าย” ก็ละเอียดขึ้นตามกำลังของปัญญา แต่จะเริ่มเข้าใจความหมายว่าเป็นหนทางที่ลึกซึ้งจึงสามารถที่จะดับอนุสัยกิเลสได้เด็ดขาดสิ้นเชิงเป็นสมุจเฉทไม่เกิดอีกเลย ไม่มีพืชเชื้อใดๆ ที่จะทำให้อกุศลประเภทที่ดับแล้วเกิดขึ้นได้ ซึ่งเคยเกิดมานานแสนนานมากมาย

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 205


    หมายเลข 10680
    25 ม.ค. 2567