ตั้งตนไว้ชอบ


        การตั้งตนไว้ชอบเป็นจักรที่สำคัญ ที่จะหมุนไปสู่ความเจริญในธรรม ซึ่งไม่ใช่ เพื่อเรา แต่เป็นปัญญาที่เข้าใจความจริงเพื่อละคลายขัดเกลากิเลส


        ผู้ฟัง พระสูตรที่นำมาศึกษา เป็นเรื่องจักร ๔ ซึ่ง จักรที่ ๑ คือ การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ

        ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ไม่ได้เป็นอย่างนี้หรือคะ

        ผู้ฟัง ก็หมายความว่าในถิ่นที่มีโอกาสได้ฟังพระธรรมคำสอน ซึ่งขณะนี้ก็กำลังฟังพระธรรมคำสอน

        ท่านอาจารย์ ข้อ ๒

        ผู้ฟัง การพึ่งพิงสัตบุรุษ

        ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ไม่ได้เป็นอย่างนี้หรือคะ ไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดีแล้วหรือ นั่นแหละค่ะสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เดี๋ยวนี้ไม่ได้เป็นอย่างนี้หรือคะ อย่างที่๓

        ผู้ฟัง การตั้งตนไว้ชอบ

        ท่านอาจารย์ นี่แหละค่ะสำคัญ ข้อนี้สำคัญมากนะคะ ฟังเพื่ออะไร

        ผู้ฟัง เพื่อเข้าใจ

        ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเครื่องเตือนค่ะ ฟังธรรมะเพื่ออะไร เพราะไม่เคยรู้เมื่อได้ฟังแล้วนะคะ สิ่งที่ได้ฟังเป็นความจริงหรือเปล่า เมื่อเป็นความจริง และรู้แค่นี้พอหรือ ทุกสิ่งทุกอย่างขณะนี้ไม่ใช่เรามีจริงๆ เกิดแล้วปรากฏเป็นธรรมะเป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง แม้จะได้ยินอย่างนี้ก็ยังไม่ได้เป็นอย่างที่ได้ฟัง เพราะว่าสะสมความไม่รู้มานาน สะสมความติดข้องมานาน แล้วยังจะไปพยายามแสวงหาที่จะไม่ติดข้องอีก โดยไม่ได้ฟัง คิดว่าตนเองสามารถจะทำได้ เพราะฉะนั้นการตั้งจิตไว้ชอบสำคัญที่สุด มีโอกาสได้ฟังแล้วก็จริง แต่ก็ต้องรู้ว่าตั้งจิตไว้ชอบคืออย่างไร ไม่ใช่เพื่อเรา แต่ธรรมะที่ได้สะสมมาเป็นธาตุแต่ละอย่าง ไม่ใช่เรา แต่สะสมธาตุไม่ดีไว้มากมาย และธาตุนี้ก็จะต้องถูกปรุงแต่งไปเลวขึ้น เลวลง มากมาย แล้วแต่สภาพธรรมะแต่ละหนึ่งขณะก็จะทำให้ไม่มีใครบันดาลได้ อยากจะเป็นคนดี อยากจะไม่มีกิเลส แต่ว่าธาตุ นั้นได้สะสมมาแล้วนานมาก เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีปัญญาจริงๆ ก็ยังคงเป็นเราต้องการที่จะเป็นคนดีเพื่อตัวเรา แต่ว่าความจริงถ้าเป็นธาตุ ธาตุนี้แหละไม่ใช่เรา แต่ธาตุประเภทที่ไม่ดี และสะสมมามากมาย จะให้เป็นอย่างนี้ต่อไปหรือ

        เพราะฉนั้น ปัญญาเท่านั้นที่สามารถจะเข้าใจถูกว่า ที่เข้าใจว่าเป็นเรา อยากจะได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทั้งหมดก็คือเป็นธาตุแต่ละหนึ่งซึ่งสะสมมามากน้อยแค่ไหน และธาตุอะไร เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็เป็นการตั้งตนไว้ชอบ คือไม่ใช่เพื่อความเป็นเราอีกต่อไป เพราะไม่ใช่เรา เป็นธรรมะ เพราะฉะนั้น ฟังเพื่อที่จะรู้ตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่เราแน่นอน

        ผู้ฟัง เป็นกิจของปัญญาที่เกิดจากฟังเข้าใจ

        ท่านอาจารย์ กว่าจะรู้อย่างนี้ก็ต้องเป็นกิจของปัญญาตั้งแต่ขั้นฟัง เเล้วถ้าสติสัมปชัญญะเกิด เริ่มต้น เพราะว่ามีความเข้าใจ เพราะว่าขณะนี้เป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยะบุคคลทั้งหลายดำเนินรู้ความจริงจนกระทั่งประจักษ์แจ้ง ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ เห็นไหม ว่ากว่าจะเป็นอย่างนั้นได้ มีความเป็นเรามาก แม้แต่ที่ต้องการจะให้ระลึกรู้ ทั้งๆ ที่ฟังมาแล้ว แต่ความเป็นเราก็ยังไม่ได้หมดไปเลย เพราะฉะนั้นกว่าจะถึงการที่ว่าขณะนี้สภาพธรรมปรากฏตามปกติ เพราะฉะนั้นแล้วแต่มีปัจจัยที่สติสัมปชัญญะจะเกิดหรือไม่ แล้วเวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด ขณะนั้นปัญญารู้ถูกต้องว่านี่ไม่ใช่เรา แต่เป็นสติสัมปชัญญะ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ใช้สติสัมปขัญญะ เพราะฉะนั้นกิจของปัญญามากหรือไม่ แม้ขณะนั้นก็คือว่าไม่ใช่เรา และกว่าจะค่อยๆ เข้าใจไปอีกๆ จนกว่าจะไม่มีการต้องการที่ยึดถือสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะขณะนี้ มีสิ่งที่ปรากฏ ทางตาก็เห็น ทางหูก็ได้ยิน ทางใจ จิตขณะนี้ก็กำลังคิด เมื่อไหร่จะรู้พร้อมการละ ไม่ใช่รู้เท่านั้น แต่กว่าจะถึงรู้ และละ การที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นสิ่งใด สักกายทิฎฐิ และอัตตานุทิฎฐิ

        เพราะฉะนั้นประมาทไม่ได้เลย ฟังธรรมะแค่นี้ ชาติหน้าเป็นอะไร ต่อไปจะได้ฟังอีกหรือไม่ เพราะฉะนั้น ตั้งจิตไว้ชอบเพื่อที่จะรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วฟังเพื่อเข้าใจ เพื่อที่จะละกิเลส


    หมายเลข 10441
    22 ม.ค. 2567