ปัญญาตามรู้


        ผู้ฟัง อยากให้ท่านช่วยขยายความประโยคที่ท่านอาจารย์เคยกล่าวว่า การศึกษาธรรมเพียงแต่อ่านก็อ่านจบ แต่จะเข้าใจหรือไม่ว่า ความหมายคืออะไร

        ท่านอาจารย์ ตัวอย่างก็คือ ปุริสสสูตร ฟังดูเหมือนไม่มีอะไร พระพุทธเจ้าทำไม่ทรงแสดงเท่านี้เหล่าคะ แค่ว่า ดูกรมหาบพิตร ธรรม ๓ อย่างแล เมื่อเกิดบังเกิดขึ้นภายในของบุรุษ ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สบาย ธรรม ๓ อย่าง คือ ๑. โลภะ ๒. โทสะ ๓. โมหะ แค่นี้เอง ง่ายๆ ฟังดูเหมือนใครๆ ก็รู้ ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น จะชื่อว่าเราเข้าใจสูตรนี้ได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเพียงผ่านไป ก็คือว่าได้ความรู้แค่ว่าธรรม ๓ อย่าง คือ ๑.โลภะ ๒.โทสะ ๓.โมหะ เมื่อเกิดขึ้นก็เพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สบาย แต่ว่าจริงๆ ธรรม ๓ อย่าง เป็นเรา หรือเปล่า ใช้คำว่าธรรม ๓ อย่าง ชื่อบอกอยู่ แล้วว่า ธรรม

        เพราะฉะนั้น เราเข้าใจความเป็นธรรมของทั้งโลภะ โทสะ โมหะแค่ไหน เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะอ่านเผินๆ แล้วเหมือนกับเราเข้าใจ ไม่มีอะไรในพระไตรปิฎกที่เราไม่เข้าใจ คิดอย่างนั้น เพราะว่าจากสูตรนี้เป็นต้น แต่ว่าตามความเป็นจริง แล้ว ถ้าเป็นผู้ที่ละเอียด แม้แต่ธรรม เราเข้าใจแค่ไหน แล้วธรรม ๓ อย่าง คือโลภะ โทสะ โมหะ เวลาเกิดขึ้น เกิดที่ไหน เกิดเมื่อไร ดับหรือเปล่า เกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นโดยอาศัยทางตา หรือโดยอาศัยทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ แล้วเป็นธรรมอย่างไร นี่ก็แสดงว่าเราคงจะต้องศึกษา ถ้าเป็นผู้ที่ละเอียด เราก็คงจะไม่ผ่านไป

        คุณอดิศักดิ์ ขอเพิ่มเติมให้นิดหน่อย ธรรมที่เกิดขึ้น โลภะ โทสะ โทหะ ในพระไตรปิฎก ในสูตรอื่นมีบอกว่า ถ้าธรรม ๓ อย่างนี้เกิดขึ้น อย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง มีแสดงไว้อย่างนั้น แต่ในนี้ก็อย่างหนึ่ง จริงๆ พระสูตรนี้ ถ้าจะขยายความ เอาพระสูตรอื่นมาพูดถึง มากเลย นี่เท่ากับจบพระไตรปิฎก

        ผู้ฟัง ขอเรียนถามท่านอาจารย์ต่อเนื่องอีกนิดหนึ่งที่ท่านอาจารย์บรรยาย สิ่งที่กำลังปรากฏ ท่านอาจารย์จะบรรยายทุกครั้ง แล้วก็เกือบจะทุกตลอดไป คำว่าปกติ บางครั้งก็ได้บรรยาย บางครั้งก็ไม่ได้บรรยาย ปกติวิสัยที่นี่ ก็คือ ทั่วๆ ไป ถ้าไม่ปกติ แล้วมันจะเกิดตัวตน ใช่ไหมครับ เป็นกุศโลบาย หรือจะเป็นวิธีการ หรือจะเป็นอะไร มันก็ เกิดเป็นตัวตน อาจารย์อธิบายในลักษณะที่ผมฟัง เป็นอย่างนี้ใช่ไหมครับ

        ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นความละเอียดที่จะเข้าใจว่า ธรรมเป็นธรรมจริงๆ ไม่ใช่เรา เพราะว่าเวลาที่ยังเป็นเราอยู่ ก็จะมีคำถามมากมาย เรื่องทำ เรื่องไม่ทำต่างๆ แต่ถ้าเข้าใจถูกต้องว่า ความคิดก็เป็นธรรม ทุกอย่างเป็นธรรม โลภะเป็นธรรม อโลภะก็เป็นธรรมด้วย ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ ก็ต้องสอบถามไปว่า จะเข้าใจได้อย่างไร คือไม่ใช่มีใครบอกว่า เป็นธรรมหมดเลย ทุกอย่างเป็นธรรม แต่ว่าผู้นั้นเข้าใจว่า เป็นธรรมได้อย่างไร มีหนทางอย่างไรที่จะรู้ว่า โลภะเป็นธรรม มีหนทางอย่างไรที่จะรู้ว่า โทสะเป็นธรรม โมหะเป็นธรรม เห็นเป็นธรรม คิดเป็นธรรม ได้ยินเป็นธรรม ต้องมีหนทางที่จะรู้ ไม่ใช่เพียงแต่คิดว่าเข้าใจ แล้ว

        เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้ที่ละเอียดที่จะต้องรู้ว่า ปัญญามีหลายระดับ ปัญญาจากการฟัง เริ่มพิจารณา เริ่มเข้าใจถูกต้องว่า ทุกอย่างมีปัจจัยเกิด ถ้าไม่เกิดไม่ปรากฏ อะไรก็ตามขณะนี้ที่ปรากฏต้องเกิด แล้วที่เกิดก็ต้องมีปัจจัยปรุงแต่งจึงจะเกิดได้ ไม่ใช่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย เมื่อเป็นความไม่รู้ก็เป็นเราทำ แต่ว่าความจริงทั้งหมดเป็นธรรม อกุศลก็เป็นธรรม ความเห็นผิดก็เป็นธรรม ที่ทำก็เป็นความเห็นผิดก็เป็นธรรม

        ผู้ฟัง ตรงจุดนี้เองที่จะเรียกว่าไม่ปกติ ใช่ไหมครับ

        ท่านอาจารย์ ปกติคือขณะนี้ ต้องทำอะไรหรือเปล่าคะ ขณะนี้ก็คือว่าใครทำเห็น เมื่อเห็นเกิด แล้ว ใครทำ ขณะนี้ได้ยิน ใครทำได้ยิน เพราะว่าเป็นปกติที่ได้ยินจะเกิด ได้ยินก็เกิด เพราะฉะนั้น ปัญญาตามรู้ ไม่ใช่ปัญญาทำขึ้น แต่ปัญญาตามรู้สิ่งที่มีปัจจัยเกิดปรากฏ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมใดที่ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ปัญญารู้ไม่ได้ สิ่งที่ล่วงไป แล้ว หมดไป แล้ว ไม่ได้กลับมาอีกเลย ปัญญาก็รู้ไม่ได้ แต่ถ้าปัญญาไม่รู้สภาพธรรม ในขณะนี้ที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ปัญญาจะรู้อะไร มีอะไรที่ปัญญาจะรู้ได้ ก็ไม่มี ถ้าสิ่งนั้นไม่ปรากฏ หรือสิ่งนั้นดับไป แล้ว

        ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าปัญญารู้ในกิเลสต่างๆ หรืออุปกิเลสต่างๆ มันจะละคลายไปเองหรืออย่างไรครับ

        ท่านอาจารย์ เราเรียกชื่อ ใช้ชื่อแสดงลักษณะของสภาพธรรมระดับต่างๆ แต่ความจริงก็คือเมื่อสภาพธรรมนั้นเป็นอย่างนั้นที่ต่างกัน แล้วก็มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ก็ทรงแสดงความจริงในชีวิตประจำวัน โดยชื่อต่างๆ แต่ทรงแสดงว่าเป็นธรรม ซึ่งผู้ที่ได้ยินได้ฟังก็จะต้องอบรมจนกระทั่งมีความเข้าใจถูกต้องในขั้นต้นจริงๆ ว่า เป็นธรรม


    หมายเลข 10424
    9 ม.ค. 2567